Search

อาทิตย์ติดดาว : หอพักป้าเยี่ยม กับบทเรียนราคาแพง - ไทยรัฐ

taiso.prelol.com
วิศวกรรมสถานฯ รุดตรวจที่เกิดเหตุ
วิศวกรรมสถานฯ รุดตรวจที่เกิดเหตุ

ต่อมา ดร.ธเนศ วีระศิริ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) พร้อมเจ้าหน้าที่ ได้มาตรวจที่เกิดเหตุ นำเครื่องมือตรวจวัดอย่างละเอียด ก่อนประเมินว่า จะเข้าไปเอาทรัพย์สินภายในหอพักได้หรือไม่

พบอาคารแตกร้าว ทรุดตัวต่อเนื่อง

ปรากฏว่า อาคารทรุดตัวลงไปแล้วเกินกว่ามาตรฐานที่วิศวกรรมสถานฯ กำหนด ซึ่งค่ามาตรฐานคือในเวลา 24 ชั่วโมง ต้องทรุดตัวไม่เกิน 6 มิลลิเมตร แต่ค่าที่ตรวจสอบได้มากถึง 8 มิลลิเมตร อีกทั้งยังพบรอยแตกร้าวที่ผนังอาคารชั้น 2 เพิ่มมากขึ้น ถือว่าเป็นอันตรายอย่างมาก ดังนั้น ทาง อบต.พันท้ายนรสิงห์ จึงได้ประกาศห้ามเข้าตัวอาคารเด็ดขาด และยุติการเคลื่อนย้ายของออกจากห้องพัก

สาเหตุมาจาก "การวิบัติของฐานราก"

จากการตรวจสอบของคณะกรรมการชุดเฉพาะกิจ กับข้อสรุปของสำนักควบคุมและตรวจสอบอาคารฯ บ่งชี้ว่า สาเหตุไม่น่าจะมาจากเรื่องของการก่อสร้าง แต่เกิดจาก “การวิบัติของฐานราก” จากข้อเท็จจริงพบว่า ฐานรากบริเวณด้านหลังของอาคาร ซึ่งอยู่ติดกับแอ่งน้ำ เกิดการทรุดตัวอย่างทันทีทันใด ทำให้เกิดการดึงรั้งของโครงสร้างอาคาร บริเวณด้านหน้า ส่งผลให้ฐานรากอาคารส่วนที่เหลือทรุดตัวลงมาทั้งหมด ส่วนการวิบัติของฐานราก จะเกิดจากอะไรนั้น ต้องทำการตรวจสอบต่อไป หลังจากที่รื้อถอนอาคารแล้ว

ติดป้ายห้ามเข้า ก่อนทำการรื้อถอน
ติดป้ายห้ามเข้า ก่อนทำการรื้อถอน

สุดท้ายคือ “ทุบทิ้ง”

ขณะเดียวกัน นายธีรพัฒน์ คัชมาตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ได้มอบหมายสั่งการให้ อบต.พันท้ายนรสิงห์ ออกหนังสือคำสั่ง “รื้อถอนอาคาร” ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย

นายธีรพัฒน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร กล่าวว่า เหตุการณ์ครั้งนี้ไม่มีใครอยากให้เกิด ซึ่งโดยส่วนตัวมองแล้วว่าน่าจะทุบตัวอาคารทิ้ง และต้องรีบเร่งทำเป็นการด่วน จะได้ไม่เกิดอันตราย เพราะกรณีถ้าเกิดมีคนเข้าไปในอาคาร แล้วอาคารทรุดตัวถล่มลงมาก็จะเป็นปัญหา

รองผวจ.สมุทรสาคร ประชุมฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
รองผวจ.สมุทรสาคร ประชุมฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

ส่วนการขออนุญาต พบว่า มีการขออนุญาตถูกต้อง ตรวจสอบแล้ว อบต.พันท้ายนรสิงห์ ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายการควบคุมอาคาร มีการอนุญาตไปตั้งแต่ปี 2557 อาคารก่อสร้างเสร็จในปี 2559 โดยมีบริษัทเอกชนเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างอาคาร 

ดินอ่อน น้ำลด เสาเข็มเปลี่ยนทิศ

"สาเหตุ ผมได้พูดคุยกับทางวิศวกรรมสถานฯ ที่มาดู บอกว่าเรื่องของดินอ่อนและน้ำลด มีผลทำให้ทรุด และมีโอกาสทำให้ตัวเสาเข็มเปลี่ยนแปลงทิศทางหรือบิดโครงสร้างเนื่องจากว่าดินสไลด์ใต้ดิน และดันเข็มทำให้เข็มหลุดออกจากกันจึงทำให้ตึกทรุดลงมาในลักษณะแนวดิ่ง และอาคารหลังนี้ปลูกติดกับริมบ่อ ลักษณะวังเลี้ยงกุ้ง ทำให้การเพิ่มลดของน้ำเป็นส่วนสำคัญทำให้ดินยุบตัวหรือสไลด์ลงได้" 

ส่วนความกังวลเรื่องน้ำทะเลที่สูงขึ้น แผ่นดินทรุดลง และน้ำจะท่วมพื้นที่ ซึ่งรวมถึงกรุงเทพมหานครด้วยนั้น 

รอง ผวจ.สมุทรสาคร กล่าวว่า ตนมองว่า จริงๆ แล้วก็คล้ายกับแผ่นดินไหว ต้องทำที่โครงสร้าง ซึ่งทุกวันนี้เรามีการออกแบบตึกอาคารที่รองรับแผ่นดินไหวได้ แม้ไม่เคยเกิดในเมืองไทย แต่ก็ไม่แน่ สิ่งเหล่านี้เป็นภัยธรรมชาติ ฉันใดฉันนั้น ที่น้ำทะเลอาจเพิ่มขึ้น หรือน้ำทะเลหนุนสูงขึ้น หรือทะเลอาจยกระดับสูงขึ้นในอนาคต ซึ่งตรงนี้จะต้องมีมาตรการเฝ้าระวังต่อไป

“โดยในชั้นนี้ เรื่องการเฝ้าระวังอาคารจะได้มีหนังสือแจ้งเวียนไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งเข้าไปตรวจสอบอาคาร ที่มีความสุ่มเสี่ยง ที่จะเกิดในลักษณะเดียวกัน" รอง ผวจ.สมุทรสาครกล่าว 

อาคารด้านหลัง ทรุดตัวไปทางหนองน้ำ
อาคารด้านหลัง ทรุดตัวไปทางหนองน้ำ

ความเสียหาย ตกอยู่กับเจ้าของอาคาร 

ท้ายที่สุด เหตุการณ์ "หอทรุด" ใน ต.พันท้ายนรสิงห์ น่าจะนำมาเป็นบทเรียนในการก่อสร้างอาคารในอนาคต ทั้งเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจ พิจารณา อนุญาตก่อสร้าง ทำเล สถานที่ โดยเฉพาะที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ รวมไปถึงเจ้าของผู้ลงทุน

ซึ่งกรณี "หอพักป้าเยี่ยม" แน่นอนว่า ความเสียหายทั้งหมด ตกอยู่กับเจ้าของอาคาร...

ผู้เขียน : ชลิต 

Let's block ads! (Why?)



"ลงไป" - Google News
August 23, 2020 at 08:30AM
https://ift.tt/2QgThST

อาทิตย์ติดดาว : หอพักป้าเยี่ยม กับบทเรียนราคาแพง - ไทยรัฐ
"ลงไป" - Google News
https://ift.tt/2W5r8kp
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/2A5APrD

Bagikan Berita Ini

0 Response to "อาทิตย์ติดดาว : หอพักป้าเยี่ยม กับบทเรียนราคาแพง - ไทยรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.