เช่นเดียวกับหมวด หมู่ประวัติศาสตร์และการเมืองที่ฟังแล้วดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้ว่าจะถูกนำมาใส่ในเกมเหมือนอย่างเกมเกมหนึ่งค่ายอินดี้ที่ผู้เขียนนึกแว้บขึ้นมาได้ว่าเคยเล่นเมื่อปี 2562 ซึ่งมีเนื้อหาที่ค่อนข้างสอดคล้องและเป็นแง่คิดอย่างดีกับสถานการณ์บ้านเรา ณ ตอนนี้ ชื่อว่า “เรา.การปฏิวัติ” (We.The Revolution)
เกมดังกล่าวใช้เนื้อที่ไม่เยอะประมาณ 4 GB ผลิตโดยค่ายอินดี้โพลีสแลช ประเทศโปแลนด์ ซึ่งหยิบยกเรื่องราวครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ช่วงยุคแห่งความน่าสะพรึง กลัวหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส ตอนปลายศตวรรษที่ 18 มาเล่า โดยผู้เล่นจะได้สวมบทบาทผู้พิพากษา (ศาลเตี้ย) ของคณะปฏิวัติ และจะเป็นตัวตัดสินชี้เป็นชี้ตาย ส่งผู้ต้องสงสัยที่ถูกกล่าวหาว่าเป็น “ศัตรูของชาติ” ขึ้นแท่นเครื่องประหารกิโยตีน
บางคนอาจจะไม่ชอบเกมลักษณะนี้นัก เพราะจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมทางประวัติศาสตร์ก่อน เพื่อรับรู้และเข้าใจบุคคลสำคัญในช่วงนั้น ที่ผู้เล่นจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องโดยตรง อย่างตัวละครหลัก “มักซีมีเลียน รอเบสปิแอร์” (Maximilien Ro-bespierre) ซึ่งมีส่วนพัวพันกับการเสียชีวิตของคนเกือบครึ่งแสน
ทั้งนี้ ต้องเกริ่นพอสังเขปก่อนว่า หลังเหตุการณ์ทลายคุกบาสตีย์ 14 ก.ค.2332 ได้ทำให้ประเทศฝรั่งเศสปลดแอกจากสถาบันกษัตริย์ เข้าสู่การปกครองแบบเผด็จการ ภายใต้ระบอบการปกครองสาธารณรัฐฝรั่งเศส ซึ่งผู้เป็นใหญ่ในการเปลี่ยนแปลงครั้งนั้นคือสโมสรการเมืองจาโคบินส์ หรือสมาคมเพื่อนรัฐธรรมนูญ นำโดยนายรอเบสปิแอร์ผู้นี้เอง ซึ่งผู้เล่นจะต้องหารือ (หรือรับคำสั่ง โดยอ้างว่าเพื่อบ้านเมือง) เกือบตลอดทั้งเกม
วี.เดอะ เรโวลูชัน จะให้ผู้เล่นเป็นคนตัดสินใจเรื่องสำคัญ ในฐานะผู้พิพากษาของคณะกรรมการความ ปลอดภัยสาธารณะ ซึ่งตามประวัติศาสตร์ถูกตั้งขึ้นมา เพื่อปราบปรามคนเห็นต่างตามแนวคิดของรอเบสปิแอร์ ที่เชื่อว่าต้องควบคุมบ้านเมืองให้สงบโดยเร็วแม้ต้อง ใช้ความรุนแรง เพื่อป้องกันการลุกฮือหรือปฏิวัติซ้ำ
สำหรับวิธีการเล่นไม่ยาก ไม่ต้องใช้ทักษะการควบคุมอะไรทั้งสิ้น ผู้เล่น ทำแค่เลือกหัวข้อสนทนา หรือหัวข้อตัดสินใจผ่านการคลิกเม้าส์หรือเลื่อนจอยสติ๊ก เท่านั้น ยกตัวอย่างเหตุการณ์พิจารณาคดีในเกม มีผู้กองทหารราบถูกกล่าวหาว่าสั่งลูกน้องยิงประชาชนในช่วงบุกทลายคุกบาสตีย์ ควรจะได้รับความผิดเช่นใด
เป็นหน้าที่ของผู้เล่นในการนั่งคิดหาบทสรุปพิพากษา โดยพิจารณาจากรูปคดี คำให้การของพยาน และหลักฐานเอกสารต่างๆว่าผิดจริงหรือไม่ แต่แน่นอน เกมจะบอกให้เรารู้ด้วยว่า อารมณ์ของสังคมต่อคดีนั้นๆเป็นเช่นไร โดยจะมีค่าความพึงพอใจให้เราเห็นว่าหากเราพิพากษาบั่นศีรษะ กลุ่มไหน จะพอใจไม่พอใจ คร่าวๆ มีอยู่สามกลุ่มคือประชาชนทั่วไป คณะปฏิวัติ และกลุ่มอำมาตย์ขุนนางเก่า
สิ่งสำคัญอยู่ที่ผู้เล่นจะบาลานซ์ความพึงพอใจของแต่ละฝ่ายอย่างไร ตัวเกมได้ใส่ความซับซ้อนลงไปอีก อย่างบางคดีดูรูปการณ์น่าจะเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่สังคมอยากจะให้ศาลเตี้ยประหารท่าเดียว ซึ่งหากรักษาสมดุลไม่ดี มีกลุ่มใดไม่พอใจคำตัดสินหลายๆครั้งก็อาจเกมโอเวอร์ได้ กลายเป็นเราที่ถูกลอบสังหาร ถูกประชาทัณฑ์เสียเอง
ไม่รวมถึงเรื่องการใส่ความดราม่าเข้าไปในเนื้อหาว่าเราจะรักษาความสัมพันธ์กับสมาชิกครอบครัว พ่อแม่ลูกเมีย ที่ไม่อยากเห็นเราขาดคุณธรรม จริยธรรม หรือเล่นเกมการเมืองมากไปได้ขนาดไหน
เอาจริงๆแล้ว เนื้อหาของเกมเห็นได้ชัดว่าต้องการให้ผู้เล่นรู้สึกกระอักกระอ่วน และตั้งคำถามในเรื่องความถูกต้อง ท่ามกลางสภาพความเป็นจริงของการเมือง ที่สีขาวกับสีดำไม่แบ่งแยกกันอย่างชัดเจน นอกจากนี้ ในช่วงท้ายของเกม ผู้เล่นยังต้องพยายามเอาตัวรอดอย่างหนัก เพราะหลังจากพ้นคณะปฏิวัติเก่าก็มีคณะใหม่ไดเรกทอรีเข้ามาแทน และเกิดการแย่งอำนาจกันต่อ จนกรุงปารีสลุกเป็นไฟ
และไม่รวมถึงตัวแปรใหม่ มีมือที่สามเข้ามาเกี่ยวข้อง ให้ผู้เล่นปรับตัวไม่ทัน นายทหารนโปเลียน โบนาปาร์ต นำกองทัพเข้ามารักษาความสงบ ปราบการแก่งแย่งอำนาจ และกลายเป็นฮีโร่คนใหม่ของประชาชน ซึ่งต่อมาตามประวัติศาสตร์ คนผู้นี้เองก็ตั้งตัวเองเป็นจักรพรรดิองค์ใหม่ “นโปเลียนที่ 1”
ฟังดูแล้วอาจจะเครียดกับเกมหนักๆประเภทนี้ แต่มองว่าเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่อยากรับรู้ เรื่องราวโดยมีคนสรุปให้แบบไม่บิดเบี้ยวนัก เกมมีขายในโปรแกรมสตีมเครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องคอนโซลเพลย์สเตชัน 4 ราคาประมาณ 300 บาทเท่านั้นเอง สนใจลองไปหามาเล่นดูได้ครับ.
พจน์ พลวัต
"มองเห็นได้" - Google News
August 30, 2020 at 05:01AM
https://ift.tt/32BUMAW
มองประวัติศาสตร์ผ่านเกม "เรา.การปฏิวัติ" - ไทยรัฐ
"มองเห็นได้" - Google News
https://ift.tt/2KEOqs2
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/2A5APrD
Bagikan Berita Ini
0 Response to "มองประวัติศาสตร์ผ่านเกม "เรา.การปฏิวัติ" - ไทยรัฐ"
Post a Comment