คอลัมน์หน้า 3 : คู่ขัดแย้ง ใหม่ ประยุทธ์ จันทร์โอชา กับ ชาวบ้าน
เหมือนกับการประกาศและบังคับใช้สถานการณ์ “ฉุกเฉิน” นับแต่ปลายเดือนมีนาคมจะทำให้รัฐบาลอยู่ในสถานะเป็นฝ่าย “รุก”
รุกต่อ “โควิด” รุกในการสร้าง “ผลงาน”
อาจเพราะรัฐบาลประเมินผลดีในด้าน “บวก” เช่นนี้เอง จึงเกิดความคึกคักเป็นอย่างสูงจากประชาคมด้าน “ความมั่นคง”
ผลักดันให้ยืดและขยายสถานการณ์ “ฉุกเฉิน” ออกไป
โดยมิได้ตระหนักและสำเหนียกอย่างเพียงพอว่าสภาวะ “โกลาหล” อันเห็นได้จากการฆ่าตัวตายของชาวบ้าน การเข้าแถวยาวเหยียดเป็นกิโลๆ
มีสาเหตุ มีมูลเชื้อมาจากอะไร
หากจับน้ำเสียงอันดังมาจากภายในทำเนียบรัฐบาล อันดังมาจากแต่ละหน่วยราชการ อันดังมาจากพรรคพลังประชารัฐเด่นชัดว่ามองไปยังพรรคการเมืองฝ่ายค้าน
มองไม่เห็นว่านั่นคือ ความเดือดร้อนอย่างสาหัสของ “ประชาชน”
มีความเด่นชัดมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับว่า ไม่ว่าสถานการณ์ “ฆ่าตัวตาย” ไม่ว่าการไปออกันอยู่บริเวณหน้ากระทรวงการคลัง
มาจากความเดือดร้อนในเรื่อง “เศรษฐกิจ”
เป็นความเดือดร้อนจากมาตรการ “เข้ม” ของรัฐบาล เริ่มจากประกาศของ กทม.ปิดเมือง ปิดงาน ในวันที่ 13 มีนาคม
ตามมาด้วยประกาศและบังคับใช้สถานการณ์ “ฉุกเฉิน”
ผลก็คือ เมื่อตกงาน เมื่อไม่มีรายได้ ประชาชนส่วนหนึ่งก็อพยพไหลทะลักออกจาก กทม. ส่วนที่ไม่มีทางไปก็ผจญกรรมอยู่ต่อไป
เมื่อตกงาน เมื่อไม่มีรายได้ ก็กลายเป็นคนหิวโหย ยากไร้
แม้จะมีการเข้าแถวเพื่อรอรับการบริจาคยาวเหยียดเป็นกิโลๆ รอกันข้ามวันข้ามคืน ไม่ว่าจะเป็นที่เชียงใหม่ ไม่ว่าจะเป็นที่หาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นที่พัทยา ไม่ว่าจะเป็นที่นครปฐม
กระทั่ง มีการฆ่าตัวตายรายวัน แต่รัฐบาลก็ยังไม่สำเหนียกอย่างเพียงพอ
บรรดาประชาคม “ความมั่นคง” ยังคงมองเห็นแต่ด้านดี ด้านบวก ของมาตรการ “เข้ม” จากการประกาศและบังคับใช้สถานการณ์ “ฉุกเฉิน”
ใช้ความจัดเจนจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ใช้ความจัดเจนจากรัฐประหาร ไม่ว่าจะเป็นเมื่อเดือนกันยายน 2549 ไม่ว่าจะเป็นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557
มาเป็น “พิมพ์เขียว” ในการดำเนิน “นโยบาย”
ผลจึงไม่เพียงแต่จะทำให้สภาพของประเทศดำเนินไปอย่างที่เป็นอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นับแต่หลังเดือนมกราคม 2547
หากแต่ยังหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความคับแค้นทางจิตใจ ความยากไร้ทางวัตถุไปทั่ว
ก่อให้เกิดความไม่พอใจไม่เพียงแต่ที่ปะทุให้เห็นบริเวณหน้ากระทรวงการคลัง หากแต่เมื่อมีการจัดระดมทุนเมย์เดย์ เมย์เดย์ ก็สัมผัสได้ในปริมาณเป็นล้าน
นี่คืออุณหภูมิทางสังคม นี่คืออุณหภูมิทางการเมือง
ความขัดแย้งก่อนรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 ต่อเนื่องมายังก่อนรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 อาจมีระหว่างกลุ่มการเมืองกับกลุ่มการเมือง
แต่ ณ ปัจจุบัน ได้เพิ่มคู่ขัดแย้งขึ้นมาอีก
นอกจากความขัดแย้งระหว่างกลุ่มทางการเมือง แบ่งสีแยกฝ่ายแล้ว ยังเป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับประชาชนขึ้นอย่างเด่นชัด
เป็นความหงุดหงิด ไม่พอใจต่อ “รัฐราชการรวมศูนย์”
"มองเห็นได้" - Google News
May 04, 2020 at 12:12PM
https://ift.tt/3fk47CP
คอลัมน์หน้า 3 : คู่ขัดแย้ง ใหม่ ประยุทธ์ จันทร์โอชา กับ ชาวบ้าน - มติชน
"มองเห็นได้" - Google News
https://ift.tt/2KEOqs2
Bagikan Berita Ini
0 Response to "คอลัมน์หน้า 3 : คู่ขัดแย้ง ใหม่ ประยุทธ์ จันทร์โอชา กับ ชาวบ้าน - มติชน"
Post a Comment