Search

กาฬโรคที่จีนจะระบาดไปทั่วโลกหรือไม่? - โพสต์ทูเดย์

taiso.prelol.com

ตอบความสงสัยของหลายๆ คนหลังจากที่จีนพบโรคระบาดอีกประเภททั้งๆ ที่โควิด-19 ยังไม่ซาลงไป

1. ขณะที่โควิด-19 ยังคงระบาดหนักไปทั่วโลก ชาวโลกเกิดความหวาดวิตกขึ้นมาอีกครั้งเมื่อมีรายงานการพบกาฬโรคชนิดกาฬโรคต่อมน้ำเหลือง(Bubonic plague) ระบาดที่เขตมองโกเลียใน ทางตอนเหนือของประเทศจีน

2. หากใครติดตามข่าวสารเรื่องการระบาดของโรคต่างๆ อยู่เป็นประจำคงจะทราบว่าการพบกาฬโรค "เป็นเรื่องธรรมดา" ของโลกเรา แม้ว่าไทยจะไม่พบกาฬโรคมาหลายสิบปี แต่ไม่ได้หมายความว่ามันสาบสูญไปแล้ว เพราะนอกประเทศไทยยังพบกันอยู่เนืองๆ

3. เช่น ที่สหรัฐพบการระบาดเมื่อปี 1995 ในพื้นที่หลายรัฐ คาดว่าตัวการมาจากหนู หลังจากนั้นก็มีรายงานมาตลอดล่าสุดก็เมื่อปี 2018 พบผู้ติดเชื้อในรัฐไอดาโฮ

4. ส่วนในจีนพบผู้เสียชีวิต 2 รายเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2019 ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2019 พบผู้ป่วยอีก 2 คน และในเดือนกรกฎาคม 2020 พบผู้ป่วยอีก 1 คน ทั้งหมดอยู่ในเขตมองโกเลียใน

5. สาเหตุของการติดเชื้อครั้งแรกที่มองโกเลียในเมื่อปี 2019 มาจากการล่าตัว "มาร์มอต" (marmots) สัตว์ฟันแทะประเเภทกระรอกที่อาศยัในทุ่งหญ้ามองโกเลีย และในปีนี้ก็เช่นกันมีรายงานผู้ติดเชื้อจากการกินมาร์มอตด้วย

6. ทั้งหนูและมาร์มอตไม่ใช่ตัวการ แต่ "ตัวหมัด" ที่อาศัยในสัตว์ประเภทฟันแทะพวกนี้ (ด้วยเหตุนี้จึงเรียกหมัดสายพันธุ์ Xenopsylla cheopis ว่าหมัดหนู) เชื้อกาฬโรคที่อยู่ในหมัดไม่เป็นอันตรายต่อหมัด แต่จะเป็นอันตรายต่อหนู เมื่อคนอยู่ใกล้หนูหมัดก็จะกระโดดข้ามมากัดคน และถ้าเชื้อถ่ายทอดสู่คนเข้ามันจะเป็นตัวอันตรายถึงแก่ชีวิต

7. กับคำถามที่ว่ามันจะระบาดในวงกว้างหรือไม่? ก่อนอื่นต้องมาย้อนอดีตก่อนก่อนเพื่อทำความเข้าใจว่ากาฬโรคเป็นโรคระบาดที่ร้ายแรงแค่ไหน

8. กาฬโรคเคยสร้างความวินาศให้กับมนุษยชาติมาแล้วหลายครั้ง แต่การระบาดระดับอภิมหาวินาศมีอยู่ 3 ครั้งแต่ละครั้งเป็นการระบาดหลายเป็นระลอก คือ การระบาดระหว่างปีค.ศ. 541 - 750 ในอียิปต์ แถบเมดิเตอเรเนียน แล้วภาคตะวันตกเฉียงใต้ของยุโรป ต่อมาคือการระบาดใหญ่ครั้งที่สอง ระหว่างค.ศ. 1331- 1855 ลุกลามจากเอเชียกลางมายังยุโรป และครั้งล่าสุดคือค.ศ. 1855 - 1960 เป็นการระบาดทั่วโลกแต่ที่หนักสุดคืออินเดียและภาคตะวันตกของสหรัฐ

9. ตัวเลขผู้เสียชีวิตในการระบาดเหล่านี้มีเป็นหลักสิบล้านคน เช่น ระลอกแรกที่เรียกว่าการระบาดยุคจักรพรรดิจัสติเนียนเมื่อปี 588 มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกถึง 100 ล้านคน และทำให้จักรวรรดิไบแซนไทน์อ่อนแอลงจนยุโรปเข้าสู่ยุคมืด

10. ตามด้วยการระบาดในยุคกลางที่เริ่มเมื่อปี 1331 ที่เรียกว่า Black Death ทำให้ประชากรโลกลดลงจาก 450 ล้านคนเหลือแค่ 350 - 375 ล้านคน ทำให้จีนเหลือประชากรแค่ครึ่งเดียว และยุโรปเหลือประชากรแค่ 1 ใน 3 และมันส่งผลสะเทือนจนทำให้ยุโรปเกิดการเปลี่ยนแปลงของระบอบการเมืองและวัฒนธรรม นั่นคือพ้นจากยุคกลางเข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยา

11. และการระบาดใหญ่ระลอกล่าสุดที่เริ่มเมื่อปี 1855 เฉพาะในอินเดียและจีนมีคนตายไป 12 ล้านคน การระบาดครั้งนี้ยังลุกลามมายังประเทศไทยด้วยในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รชกาลที่ 5 

12. จะเห็นได้ว่าการระบาดใหญ่ไม่ได้ทำให้คนตายเหมือนใบไม้ร่วงเท่านั้น แต่ยังส่งผลสะเทือนต่อวิถีชีวิตของคนที่รอดชีวิตด้วย มันจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงการเมืองและเศรษฐกิจอย่างรุนแรงหลังจากนั้น

13. หลังจากเข้าสู่ช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 กาฬโรคดูเหมือนจะสงบไป แต่มันไม่ได้หายไปไหน และมีรายงานจากองค์การอนามัยโลกว่าระหว่างปี 1987 - 2001 มีผู้ติดเชื้่อกาฬโรคถึง 36,876 ราย เสียชีวิตไป 2,847 ราย

14. แต่เมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 (หรือในยุคนี้) แล้วมีคนตายลดลงมาเหลือแค่ 200 คนในแต่ละปี แต่ยังพบเป็นประจำใน 26 ประเทศทั่วโลก หนึ่งในนั้นคือจีน สหรัฐ อินเดีย และบราซิล

15. ว่ากันตามตรงแล้วในศตวรรษที่ 20 - 21 สหรัฐมีรายงานพบการติดเชื้อและการเสียชีวิตจากกาฬโรคมากกว่าจีนเสียอีก

16. แม้ว่าโลกของเราจะไร้พรมแดนมากขึ้นเรื่อยๆ (อย่างน้อยก็ในช่วงก่อนโควิด-19 ระบาด) แต่ไม่ใช่ว่ากาฬโรคจะระบาดง่ายกว่าเดิม เพราะหลังจากผ่านการล้มตายมาหลายร้อยปี มนุษย์ก็รู้วิธีป้องกันกาฬโรคอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น มีการใช้แอนติไบโอติกกับผู้ที่อาจจะติดเชื้อเพื่อป้องกันการระบาดในวงกว้าง

17. อีกสาเหตุคือเชื้อกาฬโรค (Y. pestis) อยู่รอดในแสงอาทิตย์ได้ไม่ถึง 1 ชั่วโมง และกาฬโรค 3 ประเภทนั้นมี 2 ประเภทที่ไม่ได้ติดต่อจากคนสู่คน ยกเว้นโรคกาฬโรคปอดบวมที่ติดต่อจากละอองสารคัดหลั่งจากการไอได้ แต่หากรักษาทันก็รอดได้ เช่นเดียวกับกาฬโรคชนิดอื่นๆ ที่รักษาได้หมดแล้ว

18. นอกจากนี้ ยังมีการกำจัดพาหะของโรคจนเหลือจำกัดวงเฉพาะสัตว์ฟันแทะในป่า เช่น มาร์มอต ในมองโกเลียหรือพวกหนูและกระรอกป่าในแถบตะวันตกของสหรัฐแบละแอฟริกา ยกเว้นว่าเราจะไปแตะต้องสัตว์ที่พาหะโรคนี้เท่านั้นเราจึงจะติดเชื้อ ดังนั้นถ้าเราไม่ล่าสัตว์ฟันแทะในป่า โอกาสติดเชื้อก็จะต่ำมาก

19. ในยุคนี้ ชาวมองโกลในเขตมองโกเลียในของจีนและในประเทศมองโกเลียยังคงล่าตัวมาร์มอตที่เป็นพาหะของกาฬโรค เพราะมาร์มอตถือเป็นอาหารอันโอชะของชาวมองโกเลีย ดังนั้นไม่แน่ว่าในอนาคตทางการจีนอาจสั่งห้ามกินสัตว์ฟันแทะพวกนี้

20. ข้ามไปที่สหรัฐ สัตว์ฟันแทะที่เป็นพาหะคือ แพรรีด็อก (Prairie dogs) หรือหมาทุ่งแพรรี ซึ่งที่จริงมันไม่ใช่หมาแต่อยู่ในวงศ์กระรอกเหมือนตัวมาร์มอต พบมากในแถบตะวันตกของสหรัฐ ดังนั้นผู้ติดเชื้อกาฬโรคในสหรัฐจึงกระจุกแค่แถบนี้ และมีไม่มากเพราะคนอเมริกันไม่ได้กินแพรรีด็อก มีแต่โอกาสที่จะไปแตะตัวมันหรือหมัดจากแพรรีด็อกไปติดที่หมากับแมวบ้านแล้วนำไปติดคนต่อ

21. ข้อมูลนี้เป็นการตอบคำถามว่าทำไมกาฬโรคที่พบในจีนระหว่างปี 2019 - 2020 จึงจะไม่ระบาดในวงกว้างเหมือนโรคล่าสุดจากจีนคือโควิด-19 เช่นเดียวกับกาฬโรคที่พบในสหรัฐที่ระบาดที่นั่นแบบข้ามศตวรรษแต่ก็ยังอยู่ที่นั่นเหมือนเดิมไม่ได้กระจายไปไหน

22. เบื้องต้น โฆษกขององค์การอนามัยโลกยังกล่าวว่าการระบาดของกาฬโรคจีนไม่ใช่ความเสี่ยงระดับสูง และจีนก็รับมือได้ดี อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลกจะต้องทำงานให้ "หนักกว่านี้" เพราะความน่าเชื่อถือถูกบั่นทอนลงไปมากในช่วงการระบาดของโควิด-18

23. อย่างที่เกริ่นไปว่าการระบาดใหญ่ของกาฬโรคในอดีตยังส่งผลสะเทือนต่อวิถีชีวิตของคนที่รอดชีวิตด้วย มันจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงการเมืองและเศรษฐกิจอย่างรุนแรงหลังจากนั้น แต่ในศตวรรษนี้กาฬโรคแทบไม่มีโอกาสกระจายตัวได้กว้างขนาดนั้น

24. ทุกวันนี้สิ่งที่เข้ามาแทนกาฬโรคคือโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น โควิด-19 ที่ไม่ต้องมีพาหะเป็นสัตว์ ติดกันง่ายกว่า และยังเดินทางข้ามโลกในเวลาอันรวดเร็วกว่ากาฬโรคหลายเท่าตัว

25. โควิด-19 กำลังจะเปลี่ยนการเมืองและเศรษฐกิจโลกในแบบเดียวกับที่กาฬโรคเคยทำมาแล้วในช่วง 1,500 ปีที่ผ่านมา

ภาพประกอบ - แพทย์กำลังรักษาผู้ป่วยกาฬโรคในเมืองการาจีช่วงที่เกิดการระบาดระลอกที่ 3 ในประเทศบริติชราช (อินเดียและปากีสถานยุคอาณานิคม) เมื่อปี 1897 ภาพจาก Wellcome Collection. Attribution 4.0 International (CC BY 4.0)

Let's block ads! (Why?)



"ลงไป" - Google News
July 07, 2020 at 05:17PM
https://ift.tt/3iCK7No

กาฬโรคที่จีนจะระบาดไปทั่วโลกหรือไม่? - โพสต์ทูเดย์
"ลงไป" - Google News
https://ift.tt/2W5r8kp
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/2A5APrD

Bagikan Berita Ini

0 Response to "กาฬโรคที่จีนจะระบาดไปทั่วโลกหรือไม่? - โพสต์ทูเดย์"

Post a Comment

Powered by Blogger.