นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด ต้องร้องเพลงรอเจ้าของใหม่ของพวกเขาต่อไป หลังจากดัลเทคโอเวอร์สโมสรมูลค่า 300 ล้านปอนด์ เป็นอันต้องล่มลงกลางคัน
แน่นอนว่าทาง ทูน อาร์มี่ ย่อมเบื่อหน่ายทุกข์ระทมกับการบริหารงานและการให้งบเสริมทัพของ ไมค์ แอชลีย์ เจ้าของทีมคนปัจจุบัน ซึ่งแม้จะสามารถพาทีมรอดตกชั้นได้แต่ทาง แอชลีย์ ได้ตระหนักถึงเรื่องนั้นดี และได้เริ่มหาผู้เข้ามาซื้อสโมสรตั้งแต่ช่วงขึ้นปี 2020 เป็นต้นมา
และนี่คือสิ่งที่ โกล รวบรวมและสรุปมาให้คุณที่นี่
ใครที่เข้ามาซื้อสโมสรนิวคาสเซิล ยูไนเต็ด?
ก่อนหน้านี้ทางกลุ่ม Public Investment Fund ซึ่งบริหารโดย โมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน มกุฎราชกุมารแห่งซาอุดิอาระเบีย คือคนที่ขับเคลื่อนการยื่นข้อเสนอซื้อทีมนิวคาสเซิล ยูไนเต็ดจากแอชลีย์
โดยการเทคโอเวอร์ครั้งนี้ กลุ่ม PIF ต้องการถือหุ้น 80 เปอร์เซ็นต์ของสโมสร โดยส่วนที่เหลือ 20 เปอร์เซ็นต์จะเป็นของ อแมนด้า สตาเวลีย์ เจ้าของบริษัท PCP Capital Partners ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุน (10%) และตระกูล Reuben นักธุรกิจสัญชาติบริติช (10%)
อย่างไรก็ตามในเดือนกรกฎาคม 2020 กลุ่ม PIF ได้ออกแถลงการณ์ถอนข้อเสนอของพวกเขาในที่สุด หลังจากโดนเสียงวิพากษณ์วิจารณ์ค้านมาตลอด โดยให้เหตุผลว่า "การเทคโอเวอร์ครั้งนี้ไม่สามารถใช้งานได้ในเชิงพาณิชย์" สำหรับพวกเขา
หลังจากที่การเจรจาล่มลงไปทาง ไมค์ แอชลีย์ ได้ออกมาให้สัมภาณ์บอกว่ามันน่าผิดหวังและเป็นเรื่องที่เสียเวลาโดยสิ้นเชิง ทว่าทาง สตาเวลีย์ นั้นเธอพยายามสุดตัวเพื่อให้ดีลนี้เกิดขึ้นได้ ซึ่งต่อมาเธอได้เปิดเผยกับ The Times ว่าเธอรู้สึกใจสลายแทนแฟนบอลนิวคาสเซิล
ที่น่าสนใจก็คือ นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่สโมสรในพรีเมียร์ลีกโดนเทคโอเวอร์จากกลุ่มนักลงทุนซาอุดิอาระเบีย หลังก่อนหน้านี้เคยมีข่าวลือว่า โมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน สนใจเทคโอเวอร์แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ด้วยราคาสูงถึง 3.8 พันล้านปอนด์มาแล้ว
สิ่งที่ทำให้การเทคโอเวอร์นิวคาสเซิลเป็นเรื่องยาก?
มีเสียงวิจารณ์และท้วงติงมากมาย นับตั้งแต่มีข่าวว่ากลุ่มทุนซาอุดิอาระเบียจะยื่นข้อเสนอเทคโอเวอร์นิวคาสเซิลเริ่มปรากฎขึ้นตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา
ทางกลุ่มผู้ถือลิขสิทสิทธิ์ถ่ายทอดสดรวมไปถึงนักสิทธิมนุษยชน อีกทั้งบรรดาสโมสรอื่น ๆ ในพรีเมียร์ลีกที่ร่วมคัดค้านการเทคโอเวอร์ในครั้งนี้
การละเมิดลิขสิทธิ์
หนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้กลุ่ม PIF ถูกคัดค้านการเทคโอเวอร์นั่นคือการที่วพกเขา โดยกลุ่ม องค์การการค้าโลก หรือ WTO แฉว่ากลุ่มทุนของประเทศซาอุดีอาระเบียมีส่วนเกี่ยวข้องกับ beoutQ สถานีโทรทัศน์ซึ่งละเมิดลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดกีฬามากมาย รวมถึงพรีเมียร์ลีก
การคัดค้านจากทีมในพรีเมียร์ลีก
สตาเวลีย์ ได้บอกว่าอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ดีลเทคโอเวอร์มีอันต้องล่มลงไปเป็นเพราะทีมคู่แข่งในพรีเมียร์ลีกหลายทีม ซึ่งเธอบอกว่าบรรดาหลายสโมสรไม่ต้องการให้ดีลนี้เกิดขึ้น
ถึงจุดนี้ยังไม่มีรายงานที่แน่ชัดว่ามีสโมสรใดบ้างที่คัดค้าน โดยทาง The Times ได้รายงานว่ามีชื่อของ ท็อตแนม ฮ็อตสเปอร์ และ ลิเวอร์พูล รวมอยู่ด้วย
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนล
เช่นเดียวกับการทำผิดกฎหมายในการละเมิดลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดกีฬา ทาง องค์กรนิรโทษกรรมสากล หรือแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนล ได้ออกมาเตือนพรีเมียร์ลีกว่าอาจทำให้เสียภาพลักษณ์หากปล่อยให้เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้น
ซึ่งเรื่องมันเกิดขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยทาง BBC ได้รายงานข่าวว่า มีส่วนรู้เห็นกับการสังหารนายจามาล คาชูจกิ นักข่าวและนักวิจารณ์รัฐบาลซาอุดีอาระเบีย ซึ่งจะทำให้ภาพลักษณ์ของทางลีกเสียหายเป็นอย่างมาก
ซึ่งปัจจัยทั้งหมดที่เราได้รวบรวมมา เป็นส่วนหนี่งในสาเหตุที่ทำให้ทางกลุ่ม PIF ถูกกระแสวิาจารณ์และต่อต้านอย่างหนัก จนพวกเขาต้องถอนตัวจากการเทคโอเวอร์สโมสรนิวคาสเซิล ยูไนเต็ด ในที่สุด
"ลงไป" - Google News
July 31, 2020 at 06:11PM
https://ift.tt/3ghCF94
สรุปประเด็น : ทำไมดีล 300 ล้านปอนด์ซื้อนิวคาสเซิลถึงล่ม? - Goal.com
"ลงไป" - Google News
https://ift.tt/2W5r8kp
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/2A5APrD
Bagikan Berita Ini
0 Response to "สรุปประเด็น : ทำไมดีล 300 ล้านปอนด์ซื้อนิวคาสเซิลถึงล่ม? - Goal.com"
Post a Comment