Search

TISCO ร่วงน้อยสุด...แต่น่าสนใจที่สุดจริงหรือ? - efinanceThai

taiso.prelol.com
TISCO ร่วงน้อยสุด...แต่น่าสนใจที่สุดจริงหรือ?

หุ้นเด่นวันนี้

TISCO ร่วงน้อยสุด...แต่น่าสนใจที่สุดจริงหรือ?

หลังจากที่ธปท.ประกาศมาตรการสำคัญกับกลุ่มธนาคาร ราคาหุ้นของทั้งกลุ่มก็ล้มระเนระนาดไม่เป็นท่าทันที เพราะได้รับผลกระทบหลายด้าน ทั้งแง่การดำเนินธุรกิจ และผลกระทบต่อผู้ถือหุ้น แต่ตลาดเชื่อว่า TISCO จะเป็นหุ้นที่ได้รับผลกระทบน้อยจากประเด็นนี้? ทำให้ราคาหุ้นลดลงน้อยกว่ากลุ่มมาก แต่การเข้าไปซื้อ TISCO แทนแบงก์อื่นๆ ที่ราคาร่วงหนักในตอนนี้ เป็นความคิดที่ถูกหรือผิดกันแน่?


*** หุ้นธนาคารร่วงหนักยกแผง แต่ TISCO ลงน้อยสุด


วันนี้ราคาหุ้นกลุ่มธนาคารร่วงหนักยกแผงทันที หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ประกาศมาตรการสำคัญออกมาหลายด้าน ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อกลุ่มธนาคารทั้งสิ้น ทั้งการปรับลดเพดานอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิต และบัตรกดเงินสด, มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ รวมถึงการห้ามจ่ายปันผลระหว่างกาล และการงดซื้อหุ้นคืน


อย่างไรก็ดีตลาดเชื่อว่า บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TISCO น่าจะได้รับผลกระทบจากประเด็นนี้น้อยมาก ทำให้ราคาหุ้นปรับลงไปทำจุดต่ำสุดของวันนี้ที่ 70.75 บาท ลดลง 2.75 บาท หรือ -3.74% เท่านั้น ถือว่าปรับลดลงน้อยกว่าหุ้นในกลุ่มตัวอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะหากเทียบกับธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ดังนี้

หุ้น ราคาต่ำสุด ลดลง
BBL 107 -7.3%
SCB 72 -6.8%
KBANK 89.25 -6.78%
KKP 41.25 -6.25%
TCAP 36 -5.26%
TISCO 70.75 -3.74%


*** เปิดมาตรการธปท. ฉุดหุ้นแบงก์ดิ่ง! ลดดอกเบี้ย-งดปันผลระหว่างกาล


เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา(22มิ.ย.63) ธปท.ประกาศมาตรการสำคัญ ซึ่งเป็นการแทรกแซงธนาคารเอกชนออกมาหลายด้าน ดังนี้

1.ปรับลดเพดานอัตราดอกเบี้ยลงตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 63 สำหรับสินเชื่อบัตรเครดิตเป็น 16% (เดิม 18%), สินเชื่อส่วนบุคคลเป็น 25% จากเดิม 28% สำหรับบัตรกดเงินสด หรือ Revolving loan และ Installment loan สำหรับสินเชื่อจำนำทะเบียนรถอยู่ที่ 24% 


2. ขยายวงเงินเป็น 2 เท่า จากเดิม 1.5 เท่า สำหรับสินเชื่อบัตรเครดิต, Revolving loan, Installment loan สำหรับลูกหนี้ที่มีพฤติกรรมการจ่ายชำระหนี้ดี และมีเงินเดือนต่ำกว่า 30,000 บาท


3. ให้แนวทางมาตรการการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ขั้นต่ำ ได้แก่ 

สินเชื่อบัตรเครดิต และบัตรกดเงินสด: ขยายระยะเวลาถึง 31 ธ.ค. 64 สำหรับการให้ลูกหนี้สามารถเข้ามาปรับเป็น Term loan 48 งวด อัตราดอกเบี้ย 12% และ 22%
สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ: ลดค่างวดอย่างน้อย 30% โดยคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 22%
สินเชื่อเช่าซื้อ: พักการชำระค่างวด (เงินต้นและดอกเบี้ย) 3 เดือน หรือลดค่างวด โดยการขยายระยะเวลาการชำระหนี้
สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน: พักการชำระค่างวด (เงินต้นและดอกเบี้ย) 3 เดือน, พักชำระเงินต้น 3 เดือน และพิจารณาลดดอกเบี้ยตามความเหมาะสม หรือลดค่างวด โดยการขยายระยะเวลาการชำระหนี้ (ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย)


นอกจากนี้ยังขอให้ธนาคารงดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล และงดการซื้อหุ้นคืน เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์รักษาระดับเงินกองทุนให้เข้มแข็งและรองรับการดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง


*** ทำไม TISCO ไม่ร่วงตามกลุ่ม ?


บล.หยวนต้า ระบุว่า ประเด็นสำคัญที่ทำให้ราคาหุ้น TISCO ไม่ปรับลดลงตามกลุ่ม มีดังนี้

1) "ไม่มีการปรับลดดอกเบี้ย 1-2% ของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ดังที่ตลาดกังวลก่อนหน้านี้" มีเพียงการขยายมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ออกไปอีก 6 เดือน ซึ่งมาตรการช่วยเหลือดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นการลดค่างวดผ่อนชำระรายเดือนทำให้ไม่กระทบต่อการรับรู้รายได้ดอกเบี้ยรับของธนาคารที่มีสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์เป็นสัดส่วนหลักอย่าง TISCO แต่จะทำให้กระแสเงินสดลดต่ำลงตามการผ่อนชำระที่น้อยลงทั้งนี้จากการสอบถามจากทางบริษัทระบุว่ามีลูกหนี้ภายใต้โครงการดังกล่าวราว 10% ทำให้คาดจะไม่สร้างปัญหาด้านสภาพคล่อง


2) TISCO ไม่มีการจ่ายปันผลระหว่างกาลอยู่แล้ว ทำให้ราคาหุ้นไม่ควรที่จะตอบสนองเชิงลบต่อประเด็นดังกล่าว


ดังนั้นหากราคาหุ้นปรับตัวลงจึงมองเป็นจังหวะเข้าสะสมได้ นอกจากนี้หากพิจารณาควบคู่กับฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง และประเด็นบวกจากสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ไม่ถูกลดเพดานดอกเบี้ยตามที่ตลาดกังวล รวมถึงราคาหุ้นที่ปรับลงมากในช่วงก่อนหน้าทำให้เรามองว่า TISCO จะเป็นหุ้นแบงก์ที่มีโอกาสตอบสนองเชิงบวกมากที่สุด


*** หรือซื้อหุ้นตัวอื่นที่ร่วงหนักอาจคุ้มกว่า?


ต้องยอมรับว่าประเด็นที่ฉุดราคาหุ้นธนาคารส่วนใหญ่ในวันนี้ก็คือ การแทรกแซงของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ขอให้งดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล และงดโครงการซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารทางการเงิน แต่ประเด็นนี้สมควรทำให้ราคาหุ้นแบงก์ร่วงหนัก และหมดความน่าสนใจไปจริงหรือ ?


บล.หยวนต้า ระบุว่า แบงก์ส่วนใหญ่จ่ายปันผลปีละ 2 ครั้ง โดยถ้าอิงปันผลงวดครึ่งแรกของปี 62 ของ BAY, BBL, KBANK, KKP, SCB, TMB จ่ายรวมกัน 1.7 หมื่นล้านบาท SCB สูงสุด 5.1 พันล้านบาท รองลงมาคือ BBL 3.8 พันล้านบาท ซึ่งปีนี้ที่ไม่ได้มีการจ่ายระหว่างกาล (ถ้าจ่ายก็น่าจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ) จะถูกทบไปจ่ายปันผลเต็มปี (กรณีที่จัดทำแผนบริหารเงินกองทุนใหม่แล้วเสร็จ) "สิ่งที่นักลงทุนเสียประโยชน์ไปเป็นเพียง มูลค่าของเงินตามเวลาจากการได้ปันผลระหว่างกาลช้าไป 6 เดือนเท่านั้น"


ซึ่งเรามองว่านักลงทุนที่ลงทุนในหุ้นกลุ่มแบงก์ส่วนหนึ่งต้องการผลตอบแทนในรูปเงินปันผลที่ปกติแบงก์ไทยมีอัตราการจ่ายที่สม่ำเสมอและอยู่ในระดับที่ดี ทำให้คาดจะมีแรงขายจากประเด็นดังกล่าวออกมาบางส่วน แต่หากพิจารณาข้อมูลในอดีตพบว่าปกติเงินปันผลระหว่างกาลจะมีสัดส่วนต่อเงินปันผลทั้งปีเพียง 10 - 28.6% ในกลุ่มแบงก์ใหญ่ และ 35-75% สำหรับแบงก์ขนาดกลาง (TMB มีสัดส่วนปันผลระหว่างกาลเทียบกับปันผลทั้งปี 75% สูงกว่าปกติ เนื่องจากมีการเพิ่มทุนเพื่อปรับโครงสร้างในช่วงครึ่งปีหลัง)

ซึ่งการงดปันผลระหว่างกาลจะทำให้นักลงทุนเสียผลตอบแทน (คำนวณจากราคาปิดวันที่ 19 มิ.ย.) "ราว 0.5-3.4% เท่านั้น" นอกจากนี้ ธปท. ยังไม่มีการออกนโยบายสำหรับงดการจ่ายปันผลประจำปี ทำให้หากสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศมีการฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปีนี้และแบงก์ไทยสามารถที่จะเตรียมแผนบริหารจัดการเงินกองทุนได้ ธปท. ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะแทรกแซงนโยบายการจ่ายเงินปันผลประจำปี 2563 ของแบงก์


ประเด็นงดซื้อหุ้นคืน ไม่มีนัยยะ


ส่วนประเด็นการซื้อหุ้นคืน แบงก์ที่ซื้อหุ้นคืนปีนี้มีเพียง KBANK ซึ่งซื้อจบแล้ว 23.9 ล้านหุ้น มูลค่า 3.2 พันล้านบาท ขณะที่ SCB ประกาศซื้อหุ้นคืนเมื่อ 11 มี.ค. แต่ยกเลิกไปเมื่อ 20 เม.ย. ทำให้ยังไม่มีการซื้อหุ้นคืน สถาบันการเงินอื่นที่ซื้อหุ้นคืนปีนี้คือ TCAP (97 ล้านหุ้น, 4.9 พันล้านบาท) และ LHFG (264 ล้านหุ้น, 335 ล้านบาท) เนื่องจากผลของการซื้อหุ้นคืนไม่ได้ช่วยกระตุ้นให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นมากกว่ากลุ่ม อีกทั้งราคาหุ้นทั้งตลาดฟื้นจากจุดต่ำสุดอย่างมีนัยสำคัญ แบงก์ใหญ่จึงไม่มีความจำเป็นต้องประกาศซื้อหุ้นคืนเพิ่มเติมหลังจากนี้อยู่แล้ว


ปรับลดดอกเบี้ย กระทบแค่ 1 - 8%


บล.เคทีบี ให้มุมมองเกี่ยวกับการปรับลดดอกเบี้ย เป็นลบเพียงเล็กน้อย แม้ว่ามาตรการดังกล่าวจะส่งผลกระทบในส่วนของสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล แต่สัดส่วนสินเชื่อดังกล่าวของกลุ่มธนาคารต่ำกว่า 10% ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประมาณการกำไรสุทธิในปี 63 ของกลุ่มฯ ประมาณ 1 - 8% เท่านั้น มีเพียง KTB โดนผลกระทบเยอะสุดที่ -19% เพราะมีบริษัทลูกเป็น KTC)


ธนาคารพาณิชย์ไทยยังแกร่งในด้านเงินทุน


บล.ทรีนีตี้ ระบุว่า สำหรับความกังวลที่คุณภาพหนี้ (NPL) ที่จะเกิดขึ้นจะกระทบต่อสัดส่วนเงินกองทุนของธนาคารนั้น เรามองว่าปัจจุบันธนาคารมีความเสี่ยงจากคุณภาพหนี้อยู่แล้วตามสภาวะเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก และอาจกระทบต่อกำไรของธนาคาร ซึ่งจากประมาณการเดิมเราคาดกำไรปี 2563 ของธนาคารจะอ่อนตัวลงราว 10 - 20%


อย่างไรก็ตามเรามองว่าความเสี่ยงดังกล่าวต่อฐานเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ยังต่ำ เนื่องจากในปัจจุบันสัดส่วนเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ยังแข็งแกร่ง โดยหากพิจารณาที่สัดส่วน Tier 1 ของธนาคารพาณิชย์ที่เราทำการวิเคราะห์เฉลี่ยอยู่ที่ 16% สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ 9.5% ค่อนข้างมาก  และในกรณีที่ NPL จะกระทบไปถึงเงินกองทุน จะต้องผ่าน Buffer อีก 2 ชั้น คือ 1.กำไรจากการดำเนินงานของแต่ละธนาคารในแต่ละปี (ในกรณีงดจ่ายปันผล) และ 2. สำรองส่วนเกินที่แต่ละธนาคารมี จาก Sensitivity Analysis ของเรา 


โดยตั้งสมมติฐานการเพิ่มขึ้นของ NPL จะส่งผลกระทบให้กำไรลดลงจากค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ที่เพิ่มขึ้น และ Risk Weighted Assets เพิ่มขึ้น โดยธนาคารจะสามารถรองรับ NPL ได้สูงกว่าปัจจุบันโดยเฉลี่ยราว 4 เท่า จึงจะกระทบทำให้เงินกองทุนลดลง และ NPL ต้องสูงขึ้นจากปัจจุบันถึงราว 8.2 เท่า จึงจะมีความเสี่ยงที่จะต้องเพิ่มทุน (Tier 1 ลดลงจนถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่ 9.5%) 


*** แบงก์นอกลงแรง แต่ฟื้นเร็ว  

บล.หยวนต้า ระบุต่อว่า นอกจากนี้ เราได้ศึกษาการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นแบงก์ในอังกฤษ 4 แบงก์ใหญ่ที่มีการประกาศงดจ่ายเงินปันผลสำหรับงวดผลประกอบการปี 2563 ในช่วงต้นเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นมาตรการที่รุนแรงที่สุดในปัจจุบันเมื่อเทียบกับมาตรการในประเทศอื่นที่ให้งดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล เพื่อประเมินการตอบสนองของราคาหุ้นในกรณีเลวร้าย พบว่า

1) ในวันแรกที่มีการประกาศงดปันผลประจำปี 2563 ราคาหุ้นทั้ง 4 แบงก์ตอบสนองเชิงลบอย่างรุนแรงราว -7.3% ถึง -13.2% (เฉลี่ยที่ -10.3%)

2) หุ้น 3 ใน 4 แบงก์มีการฟื้นตัวสู่ระดับราคาก่อนการประกาศงดจ่ายปันผลค่อนข้างเร็ว โดยใช้เวลาเพียง 4-6 วัน และ

3) ผลตอบแทนเฉลี่ยสำหรับการลงทุนตั้งแต่วันที่มีประกาศงดจ่ายปันผลจนถึงวันที่ 19 มิ.ย. อยู่ที่ 13.8% มีเพียง 1 แบงก์ ที่ให้ผลขาดทุนราว 4.3%  


*** แล้วแบบนี้ TISCO น่าสนใจจริงหรือ ?


จากสถานการณ์ที่ไม่ปกติขณะนี้ บล.ฟิลลิป คาดว่าช่วงไตรมาส 2/63 สินเชื่อของ TISCO จะหดตัว 2.8% จากไตรมาสก่อน สวนทางกับ NPL ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากระดับ 2.6% จากยอดขายรถยนต์เดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ยังหดตัว 54.12% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งจะกดดันกำไรไตรมาส 2/63 ให้ทำได้ 1.47 พันล้านบาท ลดลง -18.5% YoY และปรับลดกำไรสุทธิปี 63 ของ TISCO ลงเหลือ 6.5 พันล้านบาท จากเดิมที่คาดไว้ 7.5 พันล้านบาท


ขณะที่ บล.ยูโอบีเคย์เฮียน ยังมีความเห็นไปในทางเดียวกันกับ บล.ฟิลลิป โดยคาดว่าคุณภาพสินเชื่อของ TISCO ยังคงอ่อนแอ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้ความสามารถปล่อยสินเชื่อใหม่ลดลง รวมถึงความสามารถชำระหนี้ของลูกค้าปรับตัวลงด้วยเช่นกัน 


ด้าน บล.บัวหลวง ระบุว่า จากแนวโน้มสินเชื่ออ่อนแอ และ NPL มีโอกาสพุ่ง ทำให้ไตรมาส 2/63 TISCO อาจต้องเพิ่มการตั้งสำรองหนี้สูญมาอยู่ที่ 1.3 พันล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 1,066% จากปีก่อน

ส่วนทั้งปี 63 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 4 พันล้านบาท จากเดิมปีก่อนอยู่ที่ 2.5 พันล้านบาท ซึ่งหากมีการเพิ่มสำรองหนี้สูญในจำนวนดังกล่าวขึ้นจริง จะทำให้ความสามารถในการจ่ายปันผลประจำปีของ TISCO ลดลง โดยคาดว่าจะสามารถจ่ายปันผลได้แค่ 4.75 บาทต่อหุ้น จากเดิมที่จ่าย 7.75 บาทต่อหุ้น ถือว่าลดลงกว่า 39%


*** นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ไม่แนะนำ "ซื้อ" จากความกังวล NPL พุ่ง-เพิ่มสำรองหนี้


ทั้งนี้ เมื่อตรวจสอบข้อมูลจากนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ มีเพียง บล.หยวนต้า ที่แนะนำให้ "ซื้อ" เพราะไม่มีการปรับลดดอกเบี้ย 1-2% ของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ซึ่งเป็นประเด็นที่เซอร์ไพร์สตลาดจากที่กังวลก่อนหน้านี้ ขณะที่นักวิเคราะห์รายอื่นยังมีความกังวลที่ NPL มีโอกาสพุ่ง และการเพิ่มสำรองหนี้

บล. คำแนะนำ ราคาเหมาะสม(บ.)
ฟิลลิป ซื้อเก็งกำไร 75
บัวหลวง ถือ 76
หยวนต้า ซื้อ 85
ดีบีเอส วิคเคอร์ส ซื้อเมื่ออ่อนตัว 87
ยูโอบี เคย์เฮียน ถือ 87
ฟินันเซีย ไซรัส ถือ 87
ราคาเฉลี่ย 82.83


หากนักลงทุนจะเข้าซื้อหุ้น TISCO ตอนนี้่เพียงเพราะมองว่าราคาหุ้นได้รับผลกระทบน้อยกว่ากลุ่มอาจต้องตัดสินใจใหม่ให้ดี เพราะด้วยผลประกอบการที่ยังอ่อนแอ จะยิ่งทำให้เงินปันผลของ TISCO ปีนี้ลดลง อีกทั้งราคาหุ้นธนาคารพาณิชย์ตัวอื่นๆ ตอนนี้ปรับลดลงมาจนชวนให้เข้าซื้อมากกว่า และผลกระทบก็ไม่ได้มีนัยสำคัญมากอย่างที่กังวลกันไว้ด้วย เพียงแต่ประเด็นที่ต้องพิจารณาให้ดีก็คือ การที่ ธปท. สามารถเข้ามาแทรกแซงกิจการของธนาคารเอกชนได้เช่นนี้ ยังนับเป็นหุ้นกลุ่มที่น่าลงทุนอยู่จริงหรือ?

ข่าวหุ้นอื่นๆที่น่าสนใจ

RECOMMENDED NEWS

ข่าวหุ้นยอดนิยม


Let's block ads! (Why?)



"ลงไป" - Google News
June 22, 2020 at 01:51PM
https://ift.tt/2NkN8nm

TISCO ร่วงน้อยสุด...แต่น่าสนใจที่สุดจริงหรือ? - efinanceThai
"ลงไป" - Google News
https://ift.tt/2W5r8kp
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/2A5APrD

Bagikan Berita Ini

0 Response to "TISCO ร่วงน้อยสุด...แต่น่าสนใจที่สุดจริงหรือ? - efinanceThai"

Post a Comment

Powered by Blogger.