AIT ร่วมกับ ม.รามคำแหง เปิดห้องเรียน ป.โท วิชาจัดการขยะพลาสติกในทะเล ให้ นศ.ลงพื้นที่จริง สำรวจตลาดอาหารทะเลและเก็บตัวอย่างเข้าห้องแล็บศึกษาการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในสัตว์ทะเลและผลิตภัณฑ์อาหารทะเล หวังคนรุ่นใหม่ลดผลกระทบมลพิษทางทะเล
วันนี้ (30 มิ.ย.2563) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศ.ดร.ธรรมรัตน์ คุตตะเทพ หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการขยะพลาสติกในทะเล (Marine Plastics Abatement หรือ MPA) คณะสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร และการพัฒนา (SERD) สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) และ ผศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ยีมิน รองคณบดีฝ่ายวิชาการเเละวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ร่วมกับนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล ลงพื้นที่ จ.ระยอง สำรวจความพร้อมในรายวิชาการจัดการขยะพลาสติกในทะเล โดยมุ่งเน้นผลกระทบของขยะพลาสติกกับระบบนิเวศในทะเล
ผศ.ดร.ธรรมศักดิ์ เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้กลุ่มวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพในทะเล คณะวิทยาศาสตร์ ม.รามคำแหง เคยลงพื้นที่สำรวจขยะพลาสติกในทะเล และการปนเปื้อนของพลาสติกขนาดเล็กในอาหารทะเลบริเวณชายฝั่งทะเลเกือบทั้งประเทศ หลังจากพบว่าขยะพลาสติกเมื่อลงไปในทะเลจะค่อยๆ เล็กลงเป็นไมโครพลาสติก และนาโนพลาสติก
ทีมวิจัยได้ศึกษาการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในน้ำ ดินตะกอน และในสิ่งมีชีวิต ซึ่งมีทั้งในปะการัง แพลงตอน หอยฝาเดียว ปู กุ้ง และปลา รวมไปถึงการวิจัยผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งกะปิ ปลาแห้ง กุ้งแห้ง หมึกแห้ง ซึ่งพบว่ามีการปนเปื้อน แต่มากน้อยแตกต่างกันตามปัจจัยฤดูกาลและกระบวนการผลิต
เป้าหมายสำคัญในการศึกษาวิจัยว่าจะทำอย่างไรจึงจะลดไมโครพลาสติกในสิ่งมีชีวิตหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์ได้ โดยสถาบันอื่นๆ ทั่วโลกก็คงมีเป้าหมายเดียวกัน
ผศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ระบุอีกว่า ขณะนี้ทีมวิจัยมหาวิทยาลัยรามคำแหงยังคงดำเนินการศึกษาต่อเนื่อง เพื่อหาแนวทางการลดไมโครพลาสติกในผลิตภัณฑ์อาหารทะเล แต่ยังต้องใช้เวลาอีกไม่ต่ำกว่า 1 ปี ด้วยปัจจัยที่ซับซ้อน อย่างกรณีกะปิ ที่ต้องศึกษาปัจจัยต่างๆ ทั้งชนิดกุ้งที่นำมาผลิตอาจแตกต่างกัน ระยะเวลาในการเก็บกุ้ง โดยต้องลงไปดูถึงกระบวนการผลิตกะปิ เพื่อหาวิธีการดึงไมโครงพลาสติกออกมาให้ได้ พร้อมๆ กับการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ มาช่วยด้วย
หากไมโครพลาสติกเกาะอยู่นอกตัวกุ้งก็อาจจะล้างออกได้ แต่หากกุ้งกินเข้าไปในตัว กระบวนการดึงไมโครพลาสติกออกมาก็เป็นไปได้ยาก นี่ถือเป็นโจทย์ที่ท้าทายและรอให้เราได้ศึกษาค้นคว้า เราอาจไม่การันตีให้ผลิตภัณฑ์ประมงซีโร่ไมโครพลาสติกได้ แต่หวังว่าจะช่วยลดปริมาณการปนเปื้อนให้ได้
ผศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ระบุว่า แม้องค์การอนามัยโลกยังไม่ได้ยืนยันว่าไมโครพลาสติกมีอันตราย เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานในเชิงวิทยาศาสตร์ชัดเจน แต่ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ การมีสิ่งปนเปื้อนที่ผิดปกติมาผสมกับสิ่งมีชีวิตย่อมต้องมีความผิดปกติ ซึ่งในอนาคตอาจจะสามารถระบุได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นถึงอันตรายของไมโครพลาสติก
COVID-19 คนหยุดเที่ยว แต่ขยะพลาสติกไม่ลด
ด้าน ศ.ดร.ธรรมรัตน์ เปิดเผยว่า ช่วง COVID-19 ที่ผ่านมา แม้ประชาชนจะลดการท่องเที่ยว ทำให้อัตราการก่อขยะต่อคนต่อวันลดลง แต่สัดส่วนการก่อให้เกิดขยะพลาสติกกลับเพิ่มขึ้น เนื่องจากการสั่งอาหารเดลิเวอรีในช่วงอยู่บ้าน ขณะที่ปัญหาขยะหน้ากากอนามัยและขยะติดเชื้อก็กลายเป็นอีกส่วนสำคัญที่ต้องคำนึงถึงการกำจัดอย่างถูกวิธี โดยเฉพาะการทิ้งแบบไม่คัดแยก เมื่อหลายคนทิ้งปนกัน คนมาเก็บขยะก็กลัวติดเชื้อ จึงไม่เก็บ อีกทั้งยังเป็นขยะที่ขายไม่ได้ก็ยิ่งทำให้จัดการขยะได้ยากมากยิ่งขึ้น
การจัดการขยะในไทยที่ผ่านมา มีการดำเนินการเก็บขยะดีขึ้นแล้ว ทั้งเทศบาลหรือท้องถิ่น แต่การแยกขยะจากจุดกำเนิดมีน้อยมาก เพราะขยะบางชิ้นก็เปื้อนหรือสกปรก บางชิ้นก็ไม่สามารถขายต่อได้ ทำให้คนเลือกที่จะไม่แยกขยะ
เมื่อมีการทิ้งไม่เป็นที่ มีการจัดการที่ไม่ถูกต้อง ขยะพลาสติกที่ตกค้างก็จะค่อยๆ เล็กลงเรื่อยๆ และไหลลงสู่ทะเลกลายเป็นไมโครพลาสติกไปปนเปื้อนกับสิ่งแวดล้อมในที่สุด
การจัดการขยะจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงทั้งกระบวนการ ตั้งแต่การลดขยะตั้งแต่แรก คัดแยกจากจุดกำเนิด การดำเนินการของรัฐในการกำจัด รวมถึงการขนย้ายขยะด้วย
ทั้งนี้ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ได้จัดหลักสูตรปริญญาโท 1 ปี สาขาวิชาจัดการขยะพลาสติกในทะเล ครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จากเงินทุนของรัฐบาลญี่ปุ่น เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้ศึกษาวิจัยผลกระทบของขยะพลาสติกในทะเล ซึ่งนักศึกษาจะได้ลงพื้นที่จริง เพื่อเก็บตัวอย่างสัตว์ทะเลไปตรวจสอบไมโครพลาสติกในห้องปฏิบัติการ รวมถึงสนับสนุนให้มีการวิจัยศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากขยะพลาสติก และแนวทางการจัดการขยะพลาสติกทั้งระบบร่วมกับกรมประมงและศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก โดยหลักสูตรนี้เป็นการมอบทุนเต็มจำนวน 100 ทุน ให้ผู้สนใจจากประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก
"ลงไป" - Google News
June 30, 2020 at 11:20AM
https://ift.tt/2Vux9HR
เปิดห้องเรียนจัดการขยะพลาสติกในทะเล ครั้งแรกในเอเชียแปซิฟิก - ข่าวไทยพีบีเอส
"ลงไป" - Google News
https://ift.tt/2W5r8kp
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/2A5APrD
Bagikan Berita Ini
0 Response to "เปิดห้องเรียนจัดการขยะพลาสติกในทะเล ครั้งแรกในเอเชียแปซิฟิก - ข่าวไทยพีบีเอส"
Post a Comment