โลกหลังโควิด-19 ที่มีโจทย์ชีวิตวิถีใหม่ (new normal) เป็นความท้าทาย “ประชาชาติธุรกิจ” สัมภาษณ์พิเศษ “ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์” อดีตเลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรืออังค์ถัด (UNCTAD) อดีตผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลก (WTO) มองเศรษฐกิจโลก-เศรษฐกิจหลังโควิด-19
โลกใหม่หลังโควิด-19
“ดร.ศุภชัย” ฉายภาพโลกหลังโควิด-19 จะเป็นโลกที่ไม่เหมือนเดิม-เปลี่ยนแปลง 3 อย่าง เป็นครั้งแรกในโลกที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงเหมือนกับสงครามย่อย ๆ เป็นความเสียหายมากกว่าการสูญเสียชีวิต
ปี 2020 เห็นชัดเจนว่า ตะวันตกค่อย ๆถอยลงไป เป็นการทรุดลงของตะวันตกสิ่งที่เปลี่ยนมาก ประการแรก คือโลกาภิวัตน์ยังคงไปได้ เพราะปัจจัยภายนอก
เช่น การคมนาคมขนส่งเปลี่ยนแปลงไป การโทรคมนาคม ออนไลน์ อิเล็กทรอนิกส์ อีคอมเมิร์ซ เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปหมด ผลักดันการเชื่อมโยงของโลกาภิวัตน์ไปข้างหน้าตลอดเวลา
โลกาภิวัตน์หลังโควิด-19 จะเป็น development net globalization โลกจะเคลื่อนไหวจากผลประโยชน์ของตะวันตกอย่างเดียว เป็นเฉลี่ยทั่วโลกมากขึ้น มาตะวันออกมากขึ้น โดยเฉพาะเอเชียจะเป็นผู้นำต่อไป และประเทศกำลังพัฒนา ประเทศยากจน ได้ประโยชน์ด้วย
ประการที่สอง development net globalization นำไปสู่ความเท่าเทียม ตะวันตกใครยากจนได้รับรักษาพยาบาลน้อยกว่า แต่ตะวันออกไม่ใช่อย่างนั้น
“ดร.ศุภชัย” ยกหนังสือของนักเศรษฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เรื่อง “ทำไมระบบตลาดถึง Fail ในอเมริกา” เพื่อให้เห็นการถดถอยของโลกาภิวัตน์ เพราะยอมให้ตลาดผูกขาดรุนแรง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยา
“พวกนี้เวลามาเจรจากับผมใน WTO เอาเรื่องยามาเป็นหัวใจตลอดเวลา การออกกฎหมายคุ้มครองสิทธิบัตรยา (TRIPs) เพราะคนที่ได้ประโยชน์มากที่สุด คือ ประเทศที่เจริญแล้ว เป็นประโยชน์กับอุตสาหกรรม แต่ไม่เป็นประโยชน์กับประชาชน”
ผลของการผูกขาดของบริษัทยา ทำให้ยาเมื่อไปถึงมือประชาชนแพง บางตัวผูกขาดตลอด 20 ปี
แต่อย่างน้อยผมผลักดันให้บริษัทยาในจีน อินเดีย ไทย สามารถผลิตยาสามัญ มาแข่งขันได้ ยาเม็ดละเป็น 100 บาท ประชาชนสามารถซื้อยาในราคา 10 บาทได้ 10 บาท เหลือบาทเดียว
ประการที่สาม โลกาภิวัตน์จะเปลี่ยนแปลงจาก unipolar world มีนักเลงโตคนเดียวคุมระบบโลก อเมริกาอ่อนแรง กลายเป็นระบบ multipolar world ศูนย์กลางค่อย ๆ เกิดขึ้น
โลกนี้จะเป็น multipolar world หมายความว่า การบริหารที่เป็นประโยชน์กับทุกคน ระบบพหุภาคีแข็งแรง ช่วยกันทำ มีปากมีเสียง เข้าไปมีบทบาทสำคัญในวาระของยูเอ็น เช่น SDGs ขณะนี้ยิ่งสำคัญ เมื่ออเมริกาไม่เอายูเอ็น
หวังว่า multipolar word ในอนาคตอันใกล้ ต้องเปลี่ยนเป็นการบริหารแบบพหุภาคี เป็นพาร์ตเนอร์ชิป ที่ประเทศกำลังพัฒนามีปากมีเสียงมากขึ้น ต้องรุกเข้าไปให้ได้ จีนพยายามรุก พวกเราต้องไปกับจีนด้วย รวมกลุ่มนอก WTO นอกพหุภาคี เป็นภูมิภาค อย่าให้มีความแตกต่างกันมาก
CPTPP เงื่อนไขบนเงื่อนไข
“ดร.ศุภชัย” สมัยอยู่ UNCTAD เป็นเสียงส่วนน้อยที่ตั้งข้อสังเกต “วาระซ่อนเร้น” ของ CPTPP ในยุคบารัก
โอบามา ว่าเป็น “วาระของอเมริกา 100 เปอร์เซ็นต์” แต่เขาออกตัวเมื่อถูกถามเรื่องท่าทีของไทยในการเจรจา CPTPP
“คนเจรจาจะรู้ดีว่ารายละเอียดเป็นอย่างไร สุดท้ายจะไปจบที่ตรงไหน เพราะยังมีเงื่อนไขบนเงื่อนไข”
ถ้าหากเราเข้าไป ควรจะเข้าไปทั้ง 10 ประเทศ เราเข้าไปคนเดียวเดี่ยว ๆ กับเราเข้าไป 10 คน ต่างกันเยอะนะ
“ผมต้องการเห็นการค้าเสรี คือ เสรีที่โปร่งใส เป็นธรรม ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง แต่ผมไม่ต้องการให้เห็นว่า เรารวมกลุ่มกันเพื่อการค้าอย่างเดียว แต่เป็นข้อตกลงหุ้นส่วน เป็นยิ่งกว่าการค้า”
ไปรวมกลุ่มแล้ว ได้เปรียบ เสียเปรียบอะไรบ้าง จ้างงานได้เท่าไหร่ ทำให้พัฒนา supply capacity และ productive capacity เพิ่มไหม การลงทุนเพิ่มไหม มีเป้าหมายเป็นเจ้าของ (ownership) อะไร
CPTPP ค่อย ๆ คิดไปได้ ถ้าสนใจก็คุยกันให้ดี ให้รู้ว่าทั้งหมดนี้เป็นปัญหาของเรา สัญญาอะไรที่ใส่ไปใน CPTPP ต้องรู้ให้หมด
“ดูผิวเผินอาจไม่มีปัญหา เวลาลงมือปฏิบัติจริง มันมีระบบยุติข้อพิพาท อยู่ใน CPTPP ซึ่งไม่ใช่ระบบของ WTO มันเป็นศาลเตี้ย”
เศรษฐกิจว่าด้วยการเอาตัวรอด
“ดร.ศุภชัย” ชี้ว่า อีก 3 ปีข้างหน้าจะเป็น survival economic (เศรษฐกิจของการเอาตัวรอด) อย่าบอกว่าปีนี้จะโตกี่เปอร์เซ็นต์ เราต้องการ development net tourism เราต้องการการท่องเที่ยวพัฒนา ไม่ใช่การท่องเที่ยวแบบ low cost ไม่ใช่คุณเก่งเพราะมีนักท่องเที่ยวเข้ามา 40-50 ล้านคน
ฉีกทฤษฎี New Normal
“ดร.ศุภชัย” อาจจะเป็นคนแรก ๆ ที่ปฏิเสธทฤษฎี new normal “ผมไม่ชอบคำว่า new normal ตั้งแต่ great
depression ปี 2007-2008 เขาใช้คำนี้เมื่อเศรษฐกิจชะลอตัว 2-3 เปอร์เซ็นต์ต่อปี”
“มันไม่มี new normal เราไม่ต้องการ new normal เราไม่ต้องการโตธรรมดา เราต้องการโตแบบ inclusive ต้องการให้คนข้างล่างโตแบบที่ยูเอ็นใส่ลงไปใน SDGs ข้างล่างโตกี่เปอร์เซ็นต์”
แต่ตอนนี้ใหญ่กว่าเมื่อสมัย 2007 เป็น 2 เท่า การกู้เงินของโลกตอนนี้มากกว่าตอนนั้นกว่า 2 เท่าตัว
“บ้านเรา new normal คือ อะไร สวมหน้ากาก ล้างมือ…ไม่ใช่ เราทำมานานเป็นปกติอยู่แล้ว ขณะที่องค์กรธุรกิจต่าง ๆ ที่พยายามปรับตัว ผมว่า ชั่วคราว คุณลองดูอีก 2 ปีข้างหน้า”
“ไม่อยากใช้คำนี้ เพราะว่า new normal เหมือนเราหลอกตัวเอง ว่าเวลานี้เราทำดีขึ้นแล้ว ทั้ง ๆ ที่คุณไปเรื่อย ๆ gradually go back to business as usual เราบอกครั้งนี้มันไม่ใช่ business usual นะ อีกหน่อยก็ไม่เหมือนเดิม”
สิ่งที่เราต้องบอกว่า ปกติ คือ อย่าทำลายธรรมชาติ เดินสายกลาง ปกติ คือ ศาสตร์พระราชา เศรษฐกิจพอเพียง พอเพียงอยู่ได้ ถ้าท่องเที่ยวเราไม่โตขนาดนี้ เป็นท่องเที่ยวชุมชน พัฒนาเศรษฐศาสตร์ชุมชน
ใช้เงิน 4 แสนล้านให้ถูกทิศทาง
“ดร.ศุภชัย” อดีต รมช.คลัง สมัยรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ (รัฐบาลเปรม 5) แนะการใช้เงินกู้ 4 แสนล้านบาท ว่า สมัยผมเคยอยู่กับ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ (รัฐบาล พล.อ.เปรม 5) มีปัญหาเศรษฐกิจช่วงนั้น เราตกลงกันว่า ต้องมีงบฯกลางปีขึ้นมาพิเศษ แค่หมื่นล้านเอง
“ป๋าบอกเลยว่า หมื่นล้านจะใช้ยังไงจะต้องมีคนกลุ่มหนึ่งมาช่วยกันดูที่เป็นกลาง ผมจำได้ตอนนั้น รองนายกฯ พล.ร.อ.สนธิ บุณยะชัย รองนายกรัฐมนตรีขณะนั้นเป็นประธาน มีนักการเมืองมาร่วมกันและผมนั่งอยู่ด้วย”
มีเงื่อนไขมาจากรัฐมนตรีชัดเจนว่า เงินหมื่นล้านจะไปแบ่งให้โครงการอะไรบ้าง ต้องเป็นไปตามโครงการที่เราแถลงไว้กับสภาแล้ว และโครงการในแผนสภาพัฒน์ อย่าไปคิดอะไรใหม่ขึ้นมาที่จะไป serve ผลประโยชน์
ขณะนี้คุณไปดูสิ 4 แสนล้าน คนขอ 8 แสนกว่าล้าน เห็นชัดเจนว่า โครงการที่มโนขึ้นมาใหม่มีจำนวนมาก ผมอยากจะให้ใช้ในของที่มีอยู่เดิม มีอยู่แล้ว โครงการพัฒนาจังหวัด ซึ่งสภาพัฒน์มีอยู่แล้ว พัฒนาตั้งแต่ข้างล่างขึ้นมาในแต่ละเรื่องที่มีอยู่
“ดร.ศุภชัย” เชื่อว่าการบริหารเงินกู้ 1.9 ล้านล้าน “ไม่ total fail คงไม่ fail ทั้งหมด” แต่หวังว่าจะส่งผลต่อเศรษฐกิจทวีคูณ
“แทนที่จะได้ผลทวีคูณต่อระบบเศรษฐกิจ (multiplier effect) ไม่ควรจะมีผล 4 แสนล้าน หรือ 1.9 ล้านล้าน ควรต้องมีผลคูณไป 2-3 เท่า เงินงบประมาณต้องมีแรงขนาดนั้น”
งบฯ 4 แสนล้านเอาเรื่องสังคมเป็นหลักก่อน กับสิ่งที่เป็นโครงการเดิมที่เป็นเรื่องสังคม กับสร้างงาน ไม่ยาก มีอยู่แล้ว ในแผนปฏิรูป แผนยุทธศาสตร์ ไม่ล้าสมัยเลย
เอสเอ็มอีกระดูกสันหลังแรงงาน
“ดร.ศุภชัย” วิเคราะห์สวนทางที่ว่า เมื่อถึงจุดสิ้นสุดการพักหนี้ในเดือน ต.ค. เศรษฐกิจจะ fail ครั้งใหญ่ และต่อเนื่องไปจนถึงปีหน้า
“ผมคิดว่า อีก 2-3 เดือนข้างหน้า สิ่งที่ต้องเป็นห่วง คือ หนึ่ง เอสเอ็มอี ต้องมาเจอกันตรงกลาง ลูกค้าเก่าอยากให้แบงก์ดูแลเต็มที่ ลูกค้าใหม่ ขอให้ออกมาช่วยเรื่องค้ำประกัน และถ้าเกิดความเสียหาย รัฐบาลต้องช่วยเหลือ”
สอง การว่างงาน ขณะนี้อาจจะถึง 1 เปอร์เซ็นต์ เป็นเรื่องใหญ่ เพราะโยงกับเอสเอ็มอีด้วย เพราะสันหลังของเรา คือ เอสเอ็มอี ถ้าเอสเอ็มอีทำได้ดี การว่างงานจะน้อยลง สิ่งที่รัฐบาลทำขณะนี้ บางวิธี ไปไม่ถึงตลาดแรงงาน
“บริษัทที่ยังจ้างคนอยู่ทั้งที่ยังมีปัญหา บริษัทใหญ่ ๆ จ้างคนงานมาก ๆ รัฐบาลและแบงก์พาณิชย์ต้องเข้าไปช่วยมากเป็นพิเศษ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ ต้องเป็นท่องเที่ยวชุมชน เป็นเศรษฐกิจชุมชน”
สุดท้าย หนี้เสีย ปลายปีจะเริ่มมีปัญหามากขึ้น เวลานี้หนี้เสีย 2-3 เปอร์เซ็นต์ ตอนวิกฤตต้มยำกุ้ง 20-30 เปอร์เซ็นต์ เป็นไปได้ แต่ดูแลเรื่องสภาพคล่อง เพิ่มเงินกองทุนให้ดี ขณะนี้ตัวเลขที่ผมทราบเงินกองทุนกำลังเป็น 11 เท่าของสินเชื่อ เข้าใจว่าในระบบเวลานี้ 17 เท่า ยังเพียงพออยู่ ซึ่งแบงก์ชาติออกมาประกาศว่า คุณอย่าเพิ่งเอาเงินกองทุนไปซื้อหุ้นคืนเลย ถูกต้องมาก”
“ดร.ศุภชัย” ประเมิน 150 วันอันตราย ไม่ซ้ำรอยวิกฤตต้มยำกุ้ง “ผมคิดว่า ไม่มีทางไปถึงจุดนั้น ครั้งนั้นเป็นปัญหาด้านดีมานด์ คนล้มละลาย ครั้งนี้ดีมานด์ปกติ ไม่มีปัญหา แต่ซัพพลายไม่เกิดขึ้นเพราะคนหยุดไป ต้องอยู่บ้าน”
อีก 3 เดือนเศรษฐกิจขยับ
ใน 3 เดือนข้างหน้า เศรษฐกิจขยับดีขึ้นแน่ ห่วงเรื่องหนี้เสีย แต่แบงก์ชาติเขาก็ดูดีแล้ว ไม่ต้องไปตื่นตระหนก ผมคิดว่า ค่อย ๆ เปิดถูกแล้ว เพราะเราต้องชนะสงครามโรคโควิด-19 ให้ได้ก่อน
คุณจะคิดให้เลวร้ายยังไงก็ได้ แต่ผมไม่เชื่อว่าจะเป็นขนาดนั้น และไม่เชื่อว่ามันจะไปถึงไหน เพราะเราไม่รู้ว่า โลกจะเป็นอย่างไร เราจะฟื้นจริงก็ต่อเมื่อโลกหลุดพ้นจากโรคระบาด
ในฐานะศิษย์เก่าพรรคประชาธิปัตย์ ประเมินทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลครบรอบ 1 ปี และการเคลื่อนของทีมเศรษฐกิจประชาธิปัตย์
ภายใต้สถานการณ์แบบนี้ เศรษฐกิจเราถูกกระทบแน่นอน แต่เมื่อเทียบกับประเทศอื่นแล้ว เราไม่ได้เลวร้ายกว่าประเทศอื่น ผลของการทำงานภายใต้สถานการณ์แบบนี้ เราไม่อยากให้มองโลกในแง่ร้ายกับทีมเศรษฐกิจ นี่ไม่ใช่เหตุการณ์ปกติ
“เราไม่ได้แย่ขนาดนี้ มีเพลงหนึ่งที่ผมชอบมาก ชื่อเพลง Street of London เป็นเพลงที่แต่งเมื่อ 40-50 ปีมาแล้ว คนร้องชื่อ Ralph McTell”
“เขาบอกว่า ถ้าเกิดคุณมีความรู้สึกว่า คุณหนาว คุณโดดเดี่ยว คุณกำลังพ่ายแพ้ คุณกำลังแย่ ผมจะพาคุณไปเดินบนถนนที่ลอนดอน และคุณจะเห็นสภาพของคนอื่นที่เขาแย่กว่าคุณขนาดไหน แล้วจะทำให้คุณรู้สึกว่าคุณไม่ได้แย่ขนาดนั้นเลย”
ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตเลขาธิการ UNCTAD และอดีตผู้อำนวยการใหญ่ WTO ถาม 5 ข้อ "ทำไม! ไทยต้องร่วมขบวน CPTPP".1.ไทยคิดดีแล้วหรือ? ที่แสดงความกระตือรือร้นจะเข้าร่วม CPTPP (ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก) เพื่อร่วมขบวนบล็อกการเจริญเติบโตด้านการค้าของ "จีน" ตามแนวทางที่ "สหรัฐอเมริกา" ปูเอาไว้ .ทั้งที่จีนเป็นประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีบทบาทเรื่อง "ซัพพลายเชน" และ "ทหาร" เป็นอย่างมาก.2.ไทยจำเป็นต้องทำตามวาระของสหรัฐฯ หรือไม่? ทั้งที่เรามีวาระกลาง ที่ทำโดยอาเซียน 10 ประเทศอยู่แล้ว .เหตุใดไทยจะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่สหรัฐฯ และพรรคพวก วางไว้ เช่น การลงทุน รัฐวิสาหกิจ กระบวนการระงับข้อพิพาท ข้อตกลงด้านการค้าที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ฯลฯ .3.ไทยคิดดีแล้วหรือ? ที่จะไปร่วมในองค์กร ซึ่งมีกฎระเบียบมากมาย เพิ่มเติมจาก WTO (องค์การการค้าโลก) ทำไมไทยต้องยอมให้ประเทศยักษ์ใหญ่ 2-3 ประเทศ มาบังคับ? ทั้งที่เรามีพรรคพวกตั้ง 160 ประเทศ ใน WTO .4.ทุกประเทศรวมถึงจีน เกรงใจ "อาเซียน" เหตุใดจึงต้องยอมให้ CPTPP เข้ามาวางกฎเกณฑ์และปกครองอาเซียน .ทำไมจึงยอมให้อาเซียน 10 ประเทศ ถูกแบ่ง เป็นฝ่ายเอา CPTPP กับฝ่ายถูกทิ้งให้อยู่นอก CPTPP "ทำไมเราไม่เข้าไปพร้อมกันทั้ง 10 ประเทศ?".5.ทำไมต้องรวมกลุ่มกันเพื่อการค้าเพียงอย่างเดียว? ทั้งที่ควรพัฒนาเรื่องทรัพยากร การลงทุน คมนาคม ฯลฯ ให้ครอบคลุมทุกมิติ ."การค้าของเราและการค้าโลกในเวลานี้ ต่อให้ทำอีก 10 CPTPP ก็ไม่ได้ช่วยอะไร เพราะเศรษฐกิจติดลบ" ดร.ศุภชัย กล่าวทิ้งท้าย
โพสต์โดย Prachachat – ประชาชาติ เมื่อ วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน 2020
"ลงไป" - Google News
June 28, 2020 at 08:42AM
https://ift.tt/2BHs9Zg
ศุภชัย : โลกเปลี่ยนขั้วมหาอำนาจ ฉีกทฤษฎี New Normal เอเชียคือตะวันใหม่ - ประชาชาติธุรกิจ
"ลงไป" - Google News
https://ift.tt/2W5r8kp
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/2A5APrD
Bagikan Berita Ini
0 Response to "ศุภชัย : โลกเปลี่ยนขั้วมหาอำนาจ ฉีกทฤษฎี New Normal เอเชียคือตะวันใหม่ - ประชาชาติธุรกิจ"
Post a Comment