หลังจากที่ได้รับชมภาพอันน่าทึ่งจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์พร้อมผลงานอันโดดเด่นกันมาแล้ว นาซาก็ไม่ปล่อยให้คนชื่นชอบภาพดาราศาสตร์ต้องเหงาสายตา รวบรวมคอลเล็กชันภาพอวกาศสีละมุนจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรามาให้ชมกันอีกเซต แต่เพื่อให้เข้าใจถึงความแตกต่างของภาพที่มาจาก 2 กล้อง ฯ นี้ เราจึงขออธิบายเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศกันสักเล็กน้อย
กล้องโทรทรรศน์อวกาศ ‘ดวงตาพิเศษ’ เพื่อล้วงความลับจักรวาล
เพื่อสอดส่องค้นลึกเข้าไปในห้วงอวกาศ หน่วยงานด้านดาราศาสตร์ทั่วโลกจึงสร้างกล้องโทรทรรศน์ต่าง ๆ มาช่วยเป็น “ดวงตา” แทนดวงตาของมนุษย์ ปกติแล้ว มนุษย์จะมองเห็นได้แค่ช่วงคลื่นแสงที่ตาเห็นเท่านั้น ดวงตาหรือกล้องโทรทรรศน์ที่ว่านั้นมีระดับการมองเห็นที่เกินกว่านั้น มันสามารถตรวจจับแสงทุกประเภท ขึ้นอยู่กับการออกแบบการใช้งานของกล้อง เราสามารถตรวจจับได้ตั้งแต่คลื่นวิทยุไปจนถึงรังสีแกมมา การใช้ข้อมูลจาก ‘ช่วงคลื่นที่หลากหลาย (Multiwavelength)’ นี้ช่วยให้เราเข้าใจวัตถุในอวกาศ ตลอดจนวิวัฒนาการของเอกภพยิ่งขึ้น
ช่วงคลื่นที่หลากหลายเกิดจาก ‘รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic radiation)’ เดินทางไปในคลื่น (คล้าย ๆ กับริ้วคลื่นในมหาสมุทร) พลังงานที่รังสีแผ่ออกมาจากคลื่นขึ้นอยู่กับระยะห่างระหว่างจุดสูงสุดของคลื่นหรือความยาวคลื่น โดยทั่วไป ยิ่งความยาวคลื่นสั้นพลังงานของรังสีก็จะยิ่งสูง รังสีแกมมามีความยาวคลื่นน้อยกว่า 10 ล้านล้านส่วนเมตร (ขนาดประมาณนิวเคลียสของอะตอม) รังสีแกมมาจึงมีพลังงานสูงมาก ในทางกลับกัน รังสีอื่นมีความยาวคลื่นมากกว่านั้น ก็จะยิ่งมีพลังงานต่ำลง อย่างแสงที่มองเห็นได้ด้วยตามนุษย์นั้น มีความยาวคลื่นประมาณขนาดของเซลล์แบคทีเรีย (ใหญ่ขึ้นมาอีกหน่อย) ในขณะที่คลื่นวิทยุอาจมีความยาวคลื่นได้ถึงมากกว่า 100 เมตรเสียอีก
ดังนั้น ขอบเขตที่เรามองเห็นได้นั้นจึงเรียกได้ว่าน้อยยิ่งกว่าน้อย หากเราสามารถตรวจจับคลื่นเหล่านี้ได้หลายช่วงก็จะทำให้เรายิ่ง ‘เห็น’ สิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น บรรดากล้องโทรทรรศน์ทั้งหลายจึงถูกพัฒนาขึ้นมาด้วยแนวคิดที่ว่านี้
อย่างกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) จะเน้นที่การสังเกตการณ์คลื่นแสงในช่วงที่ตามนุษย์มองเห็น (Visible Light) กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ (Spitzer Space Telescope) จะตรวจจับอินฟราเรด (Infrared) สำหรับกล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา (Chandra X-ray Observatory) นั้น เป็นกล้องที่ใช้สังเกตการณ์คลื่นในช่วงรังสีเอกซ์ หรือ เอกซ์เรย์ (X-ray) ดังนั้นเมื่อนำข้อมูลจากกล้องต่างชนิดกันมาประมวลเป็นภาพ ทำให้ได้ภาพและสีสันที่มีลักษณะแตกต่างกันไป
สำหรับการใช้งานกล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา นักดาราศาสตร์ได้นำไปใช้รวบรวมข้อมูลของวัตถุประเภทต่าง ๆ หลากหลาย ทั้งกาแล็กซี เศษซากของซูเปอร์โนวา ดวงดาว และเนบิวลาดาวเคราะห์ โดยภาพที่เรารวบรวมมาให้ชมกันนี้ไม่ได้ใช้เพียงของข้อมูลของกล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทราเท่านั้น แต่ข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศอื่นมาช่วยทำให้ภาพสมบูรณ์ยิ่งขึ้นด้วย
ภาพสวยสีละมุนของนานาวัตถุท้องฟ้า
M82
Messier 82 หรือ M82 เป็นกาแล็กซีที่มีตำแหน่งการวางตัวทำมุมหันขอบเข้าหาโลก สิ่งนี้ทำให้นักดาราศาสตร์และกล้องโทรทรรศน์ สร้างภาพที่น่าสนใจขึ้น มันสามารถบอกเล่าว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อกาแล็กซีนี้อยู่ภายใต้ช่วงก่อตัวของดาวฤกษ์ รังสีเอกซ์จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทราที่ปรากฏเป็นสีน้ำเงินและสีชมพู แสดงให้เห็นก๊าซที่ไหลออกมาที่มีความยาวประมาณ 20,000 ปีแสง และได้รับความร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่าสิบล้านองศาจากการระเบิดของซูเปอร์โนวาซ้ำ ๆ ส่วนข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ที่ปรากฏให้เห็นเป็นสีแดงและสีส้มในภาพนี้แสดงให้เห็นตัวของกาแล็กซี
Abell 2744
กระจุกกาแล็กซีเป็นวัตถุที่ใหญ่ที่สุดในจักรวาลที่เกาะกลุ่มเข้าด้วยกันโดยแรงโน้มถ่วง (ตรงตามชื่อเลยคือเป็นกระจุกที่รวมกันของหลาย ๆ กาแล็กซีนั่นเอง) พวกมันประกอบด้วยก๊าซร้อนยวดยิ่งจำนวนมหาศาลมีอุณหภูมิหลายสิบล้านองศา ซึ่งเรืองแสงได้ในรังสีเอกซ์ และสามารถสังเกตเห็นได้จากระยะห่างหลายล้านปีแสงระหว่างกาแล็กซี ภาพของกระจุกกาแล็กซี Abell 2744 นี้ ใช้การรวมระหว่างรังสีเอกซ์จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา ซึ่งแสดงให้เห็นเป็นรังสีสีฟ้าที่แผ่กระจาย และแสงที่มองเห็นได้ด้วยตาจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล จะปรากฏเป็นสีแดง สีเขียวและสีฟ้า
(ชมความงามของดวงดาวต่อ คลิกหน้า 2 ที่ด้านล่างเลย)
"มองเห็นได้" - Google News
September 26, 2020 at 12:00PM
https://ift.tt/3cxxIYr
รวมภาพจักรวาลหวานละมุน ผลงานจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา - เว็บแบไต๋ | beartai.com
"มองเห็นได้" - Google News
https://ift.tt/2KEOqs2
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/2A5APrD
Bagikan Berita Ini
0 Response to "รวมภาพจักรวาลหวานละมุน ผลงานจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา - เว็บแบไต๋ | beartai.com"
Post a Comment