Search

นายแบงก์-โบรกฯชี้ NPL แบงก์ยังเพิ่มขึ้นอีก 1-2 ปี กดดันตั้้งสำรองเพิ่ม - efinanceThai

taiso.prelol.com

  นายแบงก์-โบรกฯ ประเมิน NPL กลุ่มแบงก์ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอีก 1-2 ปี ตามการถดถอยของเศรษฐกิจและความสามารถชำระหนี้ของลูกค้า หลัง 6 เดือนแรก ระดับหนี้เสียเพิ่มขึ้นถึง 15.3% กดดันแบงก์ยังตั้งสำรองเพิ่มขึ้น

  นางสาวธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยกับ “สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย” ว่า จากระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ไตรมาส 2/63 ของธนาคารพาณิชย์ที่เพิ่มสูงขึ้น ส่วนใหญ่มาจากกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และ การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 จนเข้าสู่มาตรการพักชำระหนี้ ทั้งสินเชื่อเอสเอ็มอีรายเล็ก และ สินเชื่อรายย่อย สินเชื่อบ้าน สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล และ สินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน ในขณะที่สินเชื่อรายใหญ่ อาจได้รับผลกระทบบ้าง แต่ยังไม่น่ากังวล เพราะมีสายป่านที่ยาวกว่ากลุ่มอื่น

  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า NPL ของระบบธนาคารพาณิชย์มีโอกาสขยับขึ้นมาที่ 3.30-3.40% ต่อสินเชื่อรวมในไตรมาส 2/63 จากระดับ 3.05% ในไตรมาส 1/63 โดยคงต้องติดตามสัญญาณด้อยคุณภาพของสินเชื่อในพอร์ตลูกค้า SMEs และ ลูกค้ารายย่อย อาทิ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ บัตรเครดิต และ สินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันอย่างใกล้ชิด

  แม้ในระยะสั้น NPL ที่มีการรายงานออกมาจะยังไม่ขยับขึ้นมาก แต่คาดว่า สัดส่วนค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองฯ ต่อสินเชื่อ (Credit Cost) จะขยับสูงขึ้นไปอยู่ที่กรอบประมาณ 1.65-1.90% ในไตรมาส 2/63 เทียบกับไตรมาส 1/63 ที่ 1.46% เนื่องจากคาดว่า ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งจะทำการตั้งสำรองฯ ในระดับสูงตามความเสี่ยงด้านเครดิตของลูกค้าที่เพิ่มสูงขึ้นจากผลกระทบทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะต้องมองไปข้างหน้า (Forward-looking) มากขึ้น ตามมาตรฐานบัญชีใหม่ (TFRS 9)

         แม้ว่า เกณฑ์การผ่อนปรนการจัดชั้นหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะช่วยบรรเทาภาระจากการให้ความช่วยเหลือลูกค้าก็ตาม

  การที่ธปท. ระบุว่า จะไม่มีการต่ออายุมาตรการพักชำระหนี้เป็นการทั่วไป หลังครบกำหนดช่วง 6 เดือนในเดือน ต.ค.นี้ นับเป็นการส่งสัญญาณให้ทุกธนาคารต้องเตรียมตัวให้พร้อมใน 2 เรื่องสำคัญ เช่น การเร่งตั้งสำรองฯ ไว้ล่วงหน้าเพื่อรองรับความเสี่ยงจากปัญหาคุณภาพหนี้ และ การเร่งปรับโครงสร้างหนี้ ก่อนที่ลูกหนี้จะกลายเป็นหนี้ที่มีปัญหา โดยเฉพาะลูกหนี้กลุ่มที่มีความเปราะบางทางการเงิน หรือ มีรายได้ไม่สม่ำเสมอ หรือ เป็นกลุ่มที่เคยเข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้

  ดังนั้นปัญหาคุณภาพหนี้จึงตัวแปรผันตามเศรษฐกิจ ดังนั้นแม้สัญญาณเศรษฐกิจอาจเริ่มดีขึ้นบ้างในปีหน้า แต่จะยังคงมีโอกาสเห็น NPL ในระบบธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในช่วง 1-2 ปี นับจากนี้ และ ทำให้ธนาคารแต่ละแห่งต้องเตรียมการตั้งสำรองฯ ในระดับสูงกว่าปกติอย่างต่อเนื่อง

  จากสถานการณ์ NPL ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งหลายฝ่ายประเมินว่า จะลากยาวไปถึงปีหน้า และ กว่าที่กำไรธนาคารจะกลับมาเติบโตเหมือนเดิม ต้องใช้เวลามากกว่า 3 ปี เพราะยังจะเห็นธนาคารตั้งสำรองระดับสูงต่อไป

  ด้านนายธนเดช รังษีธนานนท์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบีเคย์เฮียน เปิดเผยกับ “สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย” ว่า NPL ในไตรมาส 2/63 ของธนาคารพาณิชย์อยู่ที่ 533,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.4% จากไตรมาส 1/63 โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขี้นสินเชื่อรายย่อย ประกอบด้วย สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ บัตรเครดิต และ สินเชื่อส่วนบุคคล ตลอดจนสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน และ สินเชื่อเอสเอ็มอี

  ส่งผลให้ 6 เดือนแรกปีนี้มูลหนี้ NPL เพิ่มขึ้น 15.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเฉพาะ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL ที่เข้าไปถือหุ้นธนาคารเพอร์มาตาในประเทศอินโดนีเซีย ส่งผลให้ธนาคารรับรู้ และ บันทึกงบการเงินเข้ามา ซึ่งรวมไปถึง NPL

  “ภาพรวมกลุ่มแบงก์ NPL เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ซึ่งแต่ละธนาคารสัดส่วนสินเชื่อที่แตกต่างกัน โดยตอนนี้สถานการณ์ยังไม่นิ่ง ธนาคารต้องคาดว่าลูกค้าที่อยู่ในกลุ่มพักชำระหนี้จะกับมารอดไหม ถ้าไม่รอดตกไปเป็น NPL แค่ไหน ตอนนี้ยังมองภาพไม่ออก เพราะสถานการณ์ยังไม่จบ ระยะเวลาการพักหนี้ยังไม่สิ้นสุด”นายธนเดช กล่าว

Let's block ads! (Why?)



"เพิ่มขึ้น" - Google News
July 24, 2020 at 02:39PM
https://ift.tt/30Ly3l1

นายแบงก์-โบรกฯชี้ NPL แบงก์ยังเพิ่มขึ้นอีก 1-2 ปี กดดันตั้้งสำรองเพิ่ม - efinanceThai
"เพิ่มขึ้น" - Google News
https://ift.tt/2Y8r7Pd
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/2A5APrD

Bagikan Berita Ini

0 Response to "นายแบงก์-โบรกฯชี้ NPL แบงก์ยังเพิ่มขึ้นอีก 1-2 ปี กดดันตั้้งสำรองเพิ่ม - efinanceThai"

Post a Comment

Powered by Blogger.