Search

อย่าละเลยอาการ "กระจกตาโก่ง" - เดลีนีวส์

taiso.prelol.com

หากพูดถึง "กระจกตาโก่ง" หลายๆคนอาจจะยังไม่ทราบว่าคืออะไร ...วันนี้ "Healthy Clean" ขอพาไปพูดคุยกับ "รศ.พญ.งามจิตต์ เกษตรสุวรรณ" หัวหน้าศูนย์เลเซอร์สายตา ฝ่ายจักษุวิทยา รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาขาดไทย เผยว่า "กระจกตาโก่ง" หรือที่หลายๆคนอาจจะเคยได้ยินมาว่า กระจกตารูปกรวย กระจกตาย้วย นั้น ต้องขออธิบายก่อนว่า กระจกตาของคนเรานั้นมี 5 ชั้น โดยชั้นที่หนาที่สุดคือชั้นกลาง ประกอบไปด้วยคอลลาเจนไฟเบอร์ เส้นใยคอลลาเจน

โรคนี้เป็นโรคที่เส้นใยคอลลาเจนไม่ค่อยแข็งแรง สาเหตุมีเยอะมาก อาทิเช่น อาจจะเกิดจากกรรมพันธุ์ก็ได้ แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด อีกสิ่งหนึ่งที่พบมาตลอดการรักษาคือในประวัติของ "ผู้ป่วยกระจกตาโก่ง" จะเป็นผู้ที่เป็นภูมิแพ้

เพราะฉะนั้นก็ชัดเจนว่า การขยี้ตาทำให้กระจกตาโก่งได้และเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้สิ่งแวดล้อมก็มีส่วนสำคัญ หรือบางคนก็เชื่อว่าเกิดจากการถูกแสงยูวีแรงๆในประเทศแถบร้อน จะพบอาการดังกล่าวมากกว่าผู้ที่อาศัยในประเทศแถบหนาว และด้วยโครงสร้างคอลลาเจนที่ไม่ได้ดีมากประกอบกับปัจจัยสิ่งแวดล้อม เมื่อคอลลาเจนไม่แข็งแรงมาเจอกับความดันลูกตา จึงดันกระจกตาให้โก่งย้อยออกมา

โดยทั่วไปแล้ว "กระจกตาโก่ง" พบในได้ตั้งแต่อายุประมาณ 10 ปี โดยส่วนใหญ่คืออายุ 20-40 ปี เมื่อเกิดอาการกระจกตาโก่งขึ้น ตาก็จะหักเหแสงเพิ่มมากขึ้น คนไข้ก็จะสายตาสั้น สายตาเอียง และบิดเบี้ยวมากขึ้น ซึ่งระยะเริ่มต้นก็สามารถใส่แว่นหรือคอนแทคเลนส์ได้ แต่เมื่อสั้นและบิดเพิ่มมากขึ้น ต้องเปลี่ยนแว่นบ่อยครั้งมากขึ้นใน 1 ปี จนคอนแทคเลนส์และแว่นตามร้านก็ไม่สามารถใช้งานได้ ไม่สามารถวัดค่าได้ 

"กระจกตาโก่งมีความอันตรายมาก หากโก่งแล้วโก่งไม่หยุด อาจจะทำให้กระจกตาชั้นในแตกได้ พอกระจกตาชั้นในแตกน้ำก็จะเข้า เหมือนกระจกที่ควรจะใสแต่กลับขุ่นขึ้น คุณภาพการมองเสีย คนไข้ก็จะมองไม่เห็น"

สำหรับการรักษา "กระจกตาโก่ง" เริ่มที่การใส่แว่น การใส่คอนแทคเลนส์ ที่ขายตามท้องตลาดกับชนิดที่แพทย์ให้กับผู้ที่กระจกตาโก่งใช้ "การใส่วงแหวน" เพื่อลดอาการโก่งลงมาจนสามารถกลับไปใส่แว่นและคอนแทคเลนส์ได้ ซึ่งสามอย่างนี้เป็นรักษาที่จะทำให้กลับไปใช้สายตาได้บ้าง

แต่อีกวิธีหนึ่งที่เพิ่งมาใหม่เมื่อประมาณ 2 ปีที่ผ่านมาคือการฉายแสงที่เรียกว่า "Crosslinking" เพื่อที่จะทำให้เส้นใยคอลลาเจนมาไขว้กัน เหมือนการสานตะแกรงให้กลับบมาแข็งแรงเพิ่มมากขึ้น เพื่อที่จะหยุดความโก่งแต่ก็ไม่ถึงกับ 100 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับความรุนแรง แต่ถ้ากระบวนการทั้งหมดข้างต้นนั้นไม่สามารถช่วยได้ ก็มาถึงวิธีสุดท้ายคือ "ปลูกถ่ายกระจกตา" จากผู้ที่เสียชีวิต

ตอนนี้ที่ รพ.จุฬาฯ พบผู้ป่วยกระจกตาโก่งมากถึง 400-500 ราย โดยก่อนหน้านี้ในประเทศไทยไม่ได้เก็บข้อมูลไว้ ทางศูนย์จึงเก็บข้อมูลจากคนไข้ที่มารักษาที่นี่ จะเห็นได้จากปีหลังๆที่คนไข้เริ่มมีการหาความรู้มากขึ้นก็เกิดความตระหนักและเริ่มมารักษาเพิ่มมากขึ้น จากที่ไม่ทราบว่าตัวเองเป็นก็ปล่อยไปเรื่อยๆจนอาการเริ่มเข้าสู่ระยะสุดท้าย ก็คือการรอปลูกถ่ายกระจกตา แต่กว่าจะได้รับการปลูกถ่ายในประเทศไทยต้องรอนานไปถึง 3 ปี

"เพราะฉะนั้นการเริ่มสังเกตตัวเองและเข้ารับการรักษาที่รวดเร็วนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ในบางรายแค่ทำวงแหวนแล้วทำ Crosslinking ก็สามารถหยุดอาการกระจกตาโก่งได้ ถือว่าสามารถลดจำนวนผู้ป่วยที่รอการปลูกถ่ายกระจกตาได้มาก"

ทุกคนสามารถดูแลตัวเองได้ง่ายๆก็คือ.. การสังเกตตัวเองให้มาก ว่ามีค่าสายตาเปลี่ยนอย่าผิดปกติมากน้อยเพียงไร และควรลดการขยี้ตาลง.. หยุดพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง "กระจกตาโก่ง" ตั้งแต่วันนี้ ย่อมดีกว่าหยุดการมองเห็นแล้วรอปลูกถ่ายกระจกตาในอีก 3 ปีข้างหน้าจะดีกว่า จริงไหมคะ?...

....................................
คอลัมน์ : Healthy Clean
โดย "พรรณรวี พิศาภาคย์"

ขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก : Pixabay

Let's block ads! (Why?)



"มองเห็นได้" - Google News
July 25, 2020 at 02:00PM
https://ift.tt/2OTKUMz

อย่าละเลยอาการ "กระจกตาโก่ง" - เดลีนีวส์
"มองเห็นได้" - Google News
https://ift.tt/2KEOqs2
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/2A5APrD

Bagikan Berita Ini

0 Response to "อย่าละเลยอาการ "กระจกตาโก่ง" - เดลีนีวส์"

Post a Comment

Powered by Blogger.