เช็กสัญญาณ 4 อาการเสี่ยงเข้าข่าย 'ต้อกระจก'
วันที่ 09 ก.ค. 2563 เวลา 07:00 น.
แพทย์ชี้ 4 สัญญาณเตือนเสี่ยงเป็น “โรคต้อกระจก” แนะตรวจสุขภาพตาปีละ1 ครั้ง รู้เท่าทันรีบป้องกันก่อนตาบอด
เราต่างทราบดีว่า ดวงตาและการมองเห็นมีความสำคัญกับชีวิต นอกจากการทำให้เราได้ใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุขแล้ว ยังทำให้เราได้เห็นหน้าคนที่เรารัก ได้เห็นโลกกว้าง ได้อ่านหนังสือ ได้เดินทางท่องเที่ยวด้วยตนเองโดยไม่ต้องเป็นภาระกับใคร หลายคนจึงกลัวที่จะสูญเสียการมองเห็น หลายคนกลัวหากต้องอยู่ในโลกมืด ดังนั้น การดูแลสุขภาพดวงตาให้ดีอยู่เสมอจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะดวงตาเป็นอวัยวะที่บอบบาง และหากสูญเสียมันไปแล้วไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้
โรคต้อกระจก เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้ตาบอด โดยผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีภาวะเลนส์ตาขุ่น และจะมีอาการหลักคือตามัว มองเห็นภาพไม่ชัด สายตาเลือนราง ซึ่งลักษณะการมองเห็นภาพไม่ชัดนั้นมีหลายแบบ แต่ส่วนมากแล้วอาการต่างๆ จะค่อยเป็นค่อยไป ใช้เวลาเป็นเดือนหรืออาจเป็นปี เมื่อมีอาการมากขึ้นจะส่งผลทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
เรื่องนี้ แพทย์หญิงพรรักษ์ ศรีพล แพทย์เฉพาะทางจักษุ ด้านการผ่าตัดต้อกระจก ต้อหิน และจอประสาทตา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ โรงพยาบาลในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ เผยข้อมูลที่น่าสนใจถึงวิธีสังเกตอาการและสัญญาณเตือนของโรคต้อกระจก รวมไปถึงแนวทางการรักษา ดังนี้
สาเหตุของการเกิดต้อกระจก
สาเหตุของการเกิดต้อกระจกมาจาก อายุที่มากขึ้น โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะเป็นต้อกระจกได้ง่าย รวมไปถึงผู้ที่ใช้ยาสเตียรอยด์ (Steroid) โดยกลุ่มที่มีโอกาสได้รับยา กลุ่มนี้ ได้แก่ ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้, โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือโรคเอสแอลอี (SLE) นอกจากนี้ผู้ที่รับประทานยาต้ม ยาหม้อ ยาสมุนไพร ซึ่งอาจมีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ การได้รับอุบัติเหตุทางตา และการได้รับแสงอัลตราไวโอเลต (UV) เหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุของการเกิดต้อกระจกทั้งสิ้น
4 อาการเสี่ยงเข้าข่ายเป็นโรคต้อกระจก
- มองเห็นภาพไม่ชัด
- มองเห็นภาพซ้อน
- มองเห็นภาพมัวในที่ที่มีแสงจ้า
- สายตาเปลี่ยนบ่อย ไปวัดแว่นทีไรไม่ชัดสักที
เมื่อมีอาการดังกล่าวข้างต้น อย่านิ่งนอนใจควรรีบพบแพทย์ทันที หรือแม้จะไม่มีสัญญาณเตือน แต่เราก็ควรที่จะตรวจสุขภาพตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อค้นหาภาวะผิดปกติ
ภาวะแทรกซ้อน อันตรายที่ต้องเฝ้าระวัง
ในผู้ป่วยที่เป็นต้อกระจกมานานจนสุกแล้ว อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน นั่นคือ ภาวะต้อหินจากต้อกระจกที่บวมเป่ง (Phacomorphic Glaucoma) เกิดจากเลนส์ตาสุกเต็มที่แล้วบวม จนปิดทางระบายน้ำในลูกตา ทำให้น้ำในลูกตาระบายไม่ได้ ทำให้ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตาเฉียบพลัน ตาแดง เมื่อส่องไฟจะเห็นเลยว่า ตาดำจะขาวผิดปกติ หากปวดในกรณีนี้ไม่มียาที่สามารถระงับอาการปวดได้และถือว่าอันตรายมาก
ผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตา วิธีรักษาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
โรคต้อกระจก มีวิธีการรักษาเพียงวิธีเดียวคือ การผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตา ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการรักษามาตรฐานในปัจจุบันทั่วโลก และวิธีที่นิยมมากที่สุดคือ การทำเฟโกอีมัลซิฟิเคชั่น (Phacoemulcification) ด้วยการใช้เครื่องเสียงความถี่สูงเข้าไปสลายเลนส์ตาเก่าให้มีขนาดเล็กแล้วใส่เลนส์ตาใหม่เข้าไป ทำให้มีแผลผ่าตัดขนาดเล็กมากเพียง 3 มิลลิเมตร ส่วนใหญ่จึงไม่ต้องมีการเย็บปิดแผล นับเป็นวิธีที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย โดยใช้เวลาเฉลี่ยเพียง 10-30 นาทีเท่านั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดและความยากของเคส
ปัจจุบันโรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ มีการรักษาโรคต้อกระจกด้วยเครื่องมือทันสมัย โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งคนไข้ที่เข้ามารับการผ่าตัดโรคตาต้อกระจกกับทางโรงพยาบาล ไม่เพียงแต่จะได้การรักษาที่มีประสิทธิภาพ สามารถกลับมามองเห็นได้ชัดขึ้น แต่ยังได้มีส่วนร่วมในการทำบุญอย่างยิ่งใหญ่ ในโครงการปันโลกสดใส ภายใต้โครงการแพทย์ผู้ให้ ด้วยการเปิดโอกาสในการมองเห็นให้กับผู้ที่ขาดโอกาสเข้าถึงการรักษาดวงตาอีก 1 คน โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ เปรียบเสมือนการผ่าตัด 1 ได้เห็น 2
ชีวิตใหม่หลังผ่าตัดต้อกระจก
หลังจากได้รับการผ่าตัดต้อกระจกแล้ว ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะรู้สึกเหมือนได้ชีวิตใหม่ เนื่องจากสามารถมองเห็นได้ชัดมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งการผ่าตัดต้อกระจกไม่เพียงแต่ทำให้กลับมามองโลกสดใส แต่ยังเป็นการแก้ไขภาวะสายตาสั้น ยาว เอียง หรือสายตามองใกล้ที่ผิดปกติได้ รวมทั้งช่วยลดความดันตาในผู้ป่วยต้อหินอีกด้วย
"มองเห็นได้" - Google News
July 09, 2020 at 07:06AM
https://ift.tt/2O9Q1I4
เช็กสัญญาณ 4 อาการเสี่ยงเข้าข่าย 'ต้อกระจก' - โพสต์ทูเดย์
"มองเห็นได้" - Google News
https://ift.tt/2KEOqs2
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/2A5APrD
Bagikan Berita Ini
0 Response to "เช็กสัญญาณ 4 อาการเสี่ยงเข้าข่าย 'ต้อกระจก' - โพสต์ทูเดย์"
Post a Comment