นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยว่าวันอังคารที่ 14 กรกฎาคม 2563 ดาวพฤหัสบดีจะโคจรมาอยู่ตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ (Jupiter Opposition) โดยมีโลกคั่นกลางเรียงกันในแนวเส้นตรง ส่งผลให้ตำแหน่งของดาวพฤหัสบดีใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี ห่างจากโลกประมาณ 619 ล้านกิโลเมตร ในวันดังกล่าว เมื่อดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าจะมองเห็นดาวพฤหัสบดีปรากฏบริเวณขอบฟ้าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ สุกสว่างมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจน มีค่าอันดับความสว่างปรากฏประมาณ -2.8 (ค่าอันดับความสว่างปรากฏของวัตถุท้องฟ้าที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีค่าประมาณ 6 ส่วนค่าอันดับความสว่างปรากฏของดวงจันทร์เต็มดวงประมาณ -12.6) หากฟ้าใสไร้ฝนสังเกตได้ด้วยตาเปล่านานตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า ถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะเเก่การสังเกตการณ์อย่างยิ่ง
ทั้งนี้เมื่อมองดูดาวพฤหัสบดีผ่านกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก จะสามารถสังเกตแถบเมฆและดวงจันทร์บริวารขนาดใหญ่ทั้ง 4 ดวงของดาวพฤหัสบดี ที่เรียกว่า ดวงจันทร์กาลิเลียน (Galilean Moons) ได้แก่ ไอโอ (Io) ยูโรปา (Europa) แกนีมีด (Ganymead) และคัลลิสโต (Callisto) หากใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 8 นิ้ว กำลังขยายตั้งแต่ 50 เท่าขึ้นไป จะสามารถมองเห็นจุดแดงใหญ่บนดาวพฤหัสบดี (Great Red Spot) ได้อย่างชัดเจน ในช่วงเวลาประมาณ 22.00-01.00 น.
นายศุภฤกษ์ กล่าวว่า คืนดังกล่าวยังสามารถสังเกตเห็นดาวเสาร์สว่างปรากฏอยู่ใกล้กับดาวพฤหัสบดีอีกด้วย ซึ่งถัดจากนี้อีกหนึ่งสัปดาห์ ดาวเสาร์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ เกิดปรากฏการณ์ “ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี” ในวันที่ 21 กรกฎาคม 2563 ที่จะถึงนี้อีกด้วย
อย่างไรก็ดีสดร. เตรียมตั้งกล้องโทรทรรศน์ จัดกิจกรรมสังเกตการณ์ดาวเคราะห์ใกล้โลก “ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี” วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม 2563 และ “ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี” วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม 2563 ณ จุดสังเกตการณ์หลัก 4 แห่ง ได้แก่ 1) เชียงใหม่ : อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ โทร. 081-8854353 2) นครราชสีมา : หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมาโทร. 086-4291489 3) ฉะเชิงเทรา หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ ฉะเชิงเทรา โทร. 084-0882264 และ 4) สงขลา : หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา โทร. 095-1450411 ตั้งแต่เวลา 18:00 - 22:00 น. จึงขอเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมในวันและเวลาดังกล่าว ในรูปแบบ New Normal ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย
สำหรับ ช่วงกลางปีไปจนถึงปลายปี 2563 ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ จะปรากฏใกล้กันบนท้องฟ้า จนกระทั่งช่วงระหว่างวันที่ 20-23 ธันวาคม 2563 ดาวเคราะห์ทั้งสองจะปรากฏใกล้กันมาที่สุดในรอบ 397 ปี ห่างเพียง 0.1 องศา หากดูด้วยตาเปล่าจะมองเห็นเสมือนเป็นดาวดวงเดียวกัน เรียกว่า ปรากฏการณ์ “The Great Conjunction” และถ้ามองผ่านกล้องโทรทรรศน์กำลังขยายไม่เกิน 100 เท่า จะเห็นดาวเสาร์และดาวพฤหัสบดีอยู่ในช่องมองภาพเดียวกัน ถือเป็นปรากฎการณ์ที่น่าติดตามชมเป็นอย่างมาก
"มองเห็นได้" - Google News
July 08, 2020 at 07:35PM
https://ift.tt/2VZ2dzt
14 ก.ค. นี้ ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี - เดลีนีวส์
"มองเห็นได้" - Google News
https://ift.tt/2KEOqs2
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/2A5APrD
Bagikan Berita Ini
0 Response to "14 ก.ค. นี้ ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี - เดลีนีวส์"
Post a Comment